Monday, July 18, 2005

ตามกระแสพระราชกำหนดฉุกเฉินสักหน่อย

ใจจริง วันนี้ผมตั้งใจจะชำระหนี้น้องๆคณะทำงานหนังสือรพีปี 48 ด้วยการเขียนบทความเชิงสังคมกฎหมายสักเรื่อง ตามคอนเซปที่น้องๆ ที่ทำหนังสือวางไว้ ส่วนเพื่อนรักของผมมันก็เขียน แต่มันเขียนเกี่ยวกับการเมืองยุโรป

จริงๆผมสับสนมากมาย เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกเรื่องไหนมาเขียน เพราะมันฟุ้งอยู่เต็มกบาลไปหมด ฟุ้งนี่ไม่ใช่เพราะมันเยอะนะครับ ฟุ้งซ่านต่างหาก

โดยสันดานของผม ผมเป็นคนเข้าใจอะไรได้ลำบากยากยิ่งนัก หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคน “หัวช้า” กว่าจะเขียนอะไรได้สักเรื่อง อ่านแล้วอ่านอีก คิดแล้วคิดอีก เพราะถ้าไม่มีอะไรเป็นขวัญถุงในหัว มันมักจะเขียนไม่ออก เขียนก็ไม่ลื่น แถมไอ้ที่เขียนน่ะ กลัวมันจะผิดให้คนอื่นเค้าด่าได้อีกต่างหาก

กลับมาเรื่องในวันนี้กัน ผมขอคั่นเวลาสมองในการคิดประเด็นในการเขียนบทความลงหนังสือรพีไปเป็นกลางดึกคืนนี้ และขออนุญาตพูดถึงข่าวเด่นประเด็นร้อนในวงการเมือง และวงการกฎหมายตอนนี้ก่อนดีกว่า

นั่นก็คือ…

การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ในฐานะผู้อยู่ในแวดวงกฎหมาย และในฐานะนักเรียนกฎหมายคนหนึ่ง ผมคงจะละไม่วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ แม้จะเป็นแสงหรี่ๆที่ฉายให้เห็นบางด้าน ซึ่งมันอาจจะไม่สามารถทัดทานแสงตะวัน แสงอาทิตย์อันใหญ่โต เจิดจ้าถึงสองดวงที่อยู่ภายใต้รัฐบาลนี้ก็ตามที (แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ดวงอาทิตย์สระอะ หรือดวงอาทิตย์สระอา ที่กำลังร่อแร่...ที่ดวงนึงดับไปแล้ว แต่อีกดวงยังเหนียวอยู่ แต่อย่างใดนะครับ)

ผมพร้อมจะโดนด่า และวิจารณ์ เฉกเช่นเดียวกับนักวิชาการ และผู้วิจารณ์คนอื่นๆ ที่มักจะโดนกระแนะกระแหน และก่นด่าว่า เป็นพวกอยู่ในหอคอยงาช้าง ไม่ได้ปฏิบัติในพื้นที่จริง และไม่รู้จักปัญหาจริงๆ

ก็เพราะหน้าที่และความรับผิดชอบของผม คงทำได้แค่เขียนและพูด แค่นี้แหล่ะครับ ถ้าเรารู้จักเคารพบทบาทหน้าที่กันและกัน ก็คงเป็นเรื่องง่ายที่จะทดสอบได้ว่าใครกำลัง “บกพร่อง” ต่อหน้าที่ตนเองอยู่ อย่าเอาหน้าที่ตัวเอง ไปวัดและวิจารณ์คนอื่นเลยครับ ไร้ประโยชน์ ได้แค่การกระแนะกระแหนไปวันๆ

อีกอย่างการเขียนบล็อกในวันนี้ของผม ผมต้องขออภัยเพราะผมไม่มีฐานข้อมูลในการเขียนอื่นใด นอกจากข้อมูลที่ได้จากสื่อ เหมือนๆกับที่ทุกท่านได้รับเช่นกัน ผมไม่มีเวลาเตรียมตัวทำการบ้าน โดยไปอ่านหนังสือวิชาการที่เกี่ยวกับอำนาจของรัฐในการตราพระราชกำหนด แม้จะมีหนังสือที่เกี่ยวข้องดังกล่าวอยู่ในมือ และต้องน้อมรับต่อความผิดพลาดในเชิงวิชาการที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อเขียนของผมในวันนี้ เพราะเกรงว่าหากไปนั่งอ่านก่อน ก็จะเข้าอีหรอบเหมือนกับอีกหลายๆงานที่ผมอยากเขียนแต่ไม่ได้เขียนเพราะมัวแต่ไปจมกับข้อมูลมหาศาล ซึ่งเมื่อบวกกับความไม่รับผิดชอบส่วนตัวแล้ว มันจะหายไปตามสายลมและกาลเวลา โดยที่ไม่ได้เริ่มเขียนเลยแม้แต่ตัวอักษรเดียว

สู้เขียนซะก่อน แล้วไปถามหาความสมบูรณ์ภายหลังดีกว่า อย่างน้อยยังได้จัดระบบความคิดตัวเอง ผ่านตัวหนังสือ ได้บ้าง และอาจจะได้ประเด็นอะไรผ่านปลายปากกา และปลายนิ้ว เพิ่มเติมได้

เริ่มกันดีกว่านะครับ ลากยาวเกินไปแล้ว

เนื้อหาในพระราชกำหนดดังกล่าว คงได้ผ่านหูผ่านตาทุกท่านไปบ้างในการนำเสนอข่าวของทุกช่อง ทุกชนิด ของสื่อสารมวลชนภายใต้ฟ้าเมืองไทยแล้ว ในวานก่อน พร้อมทั้งประเด็นถกเถียงมากมายจากผู้เห็นด้วย และผู้ไม่เห็นด้วย (ขาประจำและฝ่ายค้าน) ครั้นผมจะเขียนซ้ำ เล่าข้อมูลซ้ำก็คงไม่มีอะไรใหม่ ผมเอาแต่เฉพาะด้านที่ผมสนใจจะพูดถึงดีกว่า

ผมเข้าใจว่า ตามหลักกฎหมายมหาชนแล้ว เราถือว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” นั่นหมายถึง มาตรการใดๆก็ตามที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะบังคับใช้กับประชาชน อันอาจกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเขา ต้องมีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ให้กระทำการนั้นๆได้เท่านั้น และกฎหมายดังกล่าว หนีไม่พ้นต้องอยู่ในชั้นพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด อันถือได้ว่า เป็นกฎหมายระดับ “ปฏิบัติการ” ที่มียศถาบันดาศักดิ์สูงที่สุด (รองจากกฎหมายระดับ “หลักการ” อย่างรัฐธรรมนูญ)

ความถูกต้องชอบธรรมของรัฐในการตราพระราชกำหนดนั้น ไว้ให้เป็นหน้าที่ของเหล่านักกฎหมายมหาชนประจำบล็อกมาเล่าให้ฟังดีกว่าครับ ไม่แม่นจริงๆอันนี้

ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลจึงจำเป็นต้องรีบหา “ที่มา” หรือ “ความชอบธรรม” ของมาตรการต่างๆนาๆ ที่จะบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่ฉุกเฉิน แล้วแต่คำท่านจะประดิษฐ์ ด้วยการตราพระราชกำหนด โดยถือเป็นอำนาจ “ทางลัด” ไม่ต้อง อ้อมไปเข้าสภาก่อนเหมือนการตราพระราชบัญญัติ เพียงแต่เมื่อประกาศใช้แล้ว ค่อยเอาเข้าไปถกเถียงกันในสภาอีกครั้งเท่านั้น

ผมไม่ปฏิเสธว่าการควบคุมสถานการณ์ หรือการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้นั้น รัฐจำต้องกระทำการอันกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ มาตรการตามพระราชกำหนดดังกล่าว กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนหรือไม่ แน่นอนมันต้องกระทบอยู่แล้ว แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า กระทบนั้น กระทบแค่ไหน เพียงไร มีกรอบหรือมาตรวัดในการพิจารณาหรือไม่ ที่สำคัญ มีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจที่เพียงพอหรือไม่

หรือที่พวกเราเหล่านักเรียนกฎหมายคุ้นหูกันดีใน การเรียนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการค้น หรือจับ ควบคุมตัว และสอบสวน ผู้ต้องหา หรือจำเลย อันต้องกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือที่พวกเราเรียกด้านนี้ของกฎหมายดังกล่าวว่า “การควบคุมอาชญากรรม” (crime control) แต่อาจารย์ที่เคารพของผมสั่งสอนผมตลอดมาว่า กฎหมายวิธีพิจารณาอาญานั้นหาได้มีด้านนี้ด้านเดียว แต่ยังมีอีกด้านที่สำคัญไม่น้อยกว่า นั่นคือ กระบวนการควบคุมอาชญากรรมดังกล่าว ต้องกระทำด้วยความถูกต้อง และต้องมีการตรวจสอบถึงความโปร่งใส และดุลของอำนาจเสมอที่เรียกว่า “due process”

ดุลอำนาจนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากอำนาจในการควบคุมและปราบปรามอาชญากรรมนั้นตกอยู่ภายใต้มือของคนใดคนหนึ่ง ในกระบวนการยุติธรรมจึงต้องมีหลากหลายองค์กรร่วมกันใช้อำนาจ และดำเนินบทบาททั้งเกื้อกูลช่วยเหลือ และตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน (check and balance) เพราะการตรวจสอบถ่วงดุลเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความโปร่งใส” (transparency) ยิ่งเป็นมาตรการที่รุนแรงต่อสิทธิและเสรีภาพมากเท่าใด ยิ่งต้องเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบ เพื่อให้เห็นถึงความโปร่งใสในการใช้อำนาจมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบ ในขั้นตอน “ก่อนใช้” อำนาจ เช่น การให้องค์กรตุลาการ (ผู้เป็นฟันเฟืองหลักในระบบนิติรัฐอย่างที่ etat de droit พยายามพูดถึงตลอด) ออกหมายอาญาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นหมายจับ หรือหมายค้น หรือแม้แต่มาตรการที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการนี้ หลายมาตรการ เช่น การดักฟัง การห้ามมิให้ประชาชนออกจากอาคารบ้านเรือน การอพยพผู้คน การเนรเทศชาวต่างชาติ ฯลฯ

หรือ หาก “จำเป็น” หรือ “ฉุกเฉิน” อย่างยิ่งที่จะต้องกระทำการนั้นๆก่อน มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงในการควบคุมสถานการณ์หรือป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด ก็อาจจะหยวนให้ใช้มาตรการนั้นๆก่อน แล้วหลังจากนั้น เป็นหน้าที่ที่จะต้องเร่งให้มีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยศาลต่อไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เมื่อจับมาแล้ว จะควบคุมตัวผู้นั้นอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ก็ต้องขออนุญาตต่อศาล ทำนองนั้น

สิ่งเหล่านี้ถูกบัญญัติรับรองไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในส่วนตัวผมถือว่าเป็น “แม่บท” ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมอาชญากรรม หรือในด้านการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ก้าวเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทั้งที่เต็มใจและไม่เต็มใจ
หรืออาจจะถือได้ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานี่แหล่ะ ที่เป็น กฎหมายระดับ “ปฏิบัติการ” บทหลัก หรือ “ธรรมนูญ” ของการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่

เป็น “ศิลาแปดศอกตอกเป็นหลัก” ของทั้งอำนาจ และการควบคุมการใช้อำนาจ ของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม

แต่ในปัจจุบัน ในยุคที่อำนาจนิติบัญญัติ เป็นแค่สาขาย่อยของ อำนาจบริหารของรัฐบาลนั้น “ศิลาแปดศอก” ดังกล่าว กำลังถูกผลักให้โยกคลอน และมันก็กำลังโยกคลอนจริงๆ

ทำให้ผมคิดถึงประโยคนี้ครับ “ศิลาแปดศอกตอกเป็นหลัก คนมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว”

ผมสังเกตพบว่า บรรดากฎหมายใหม่ๆที่เกี่ยวกับการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำต่อประชาชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมดั้งเดิม ที่ปรากฏในวิฯอาญา (ชื่อเล่นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาน่ะครับ) เช่น การค้น จับ ควบคุมตัว หรือ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การดักฟัง การยึดอายัดสิ่งของ การห้ามออกนอกสถานที่อยู่อาศัย การเนรเทศบุคคลต่างด้าว ฯลฯ ล้วนแต่พยายามจะหลีกเลี่ยง มาตรฐานในการถ่วงดุลที่ปรากฏไว้ในวิฯอาญาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ปรากฏอยู่ใน กฎหมายศุลกากร สรรพสามิต ฟอกเงิน คดีพิเศษ ฯลฯ รวมถึงพระราชกำหนดเจ้าปัญหาที่เรากำลังพิจารณากันอยู่นี้ด้วย ซึ่งมักจะมีมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิที่หย่อนยานกว่าในวิฯอาญา

การค้นการจับ ไม่จำเป็นต้องขอหมายต่อศาลก่อน เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ดาษดื่น ในกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เต็มที่คือการให้เจ้าหน้าที่ที่กระทำการตามกฎหมาย แสดงแค่บัตรประจำตัว แก่ผู้ถูกกระทำแค่นั้น (แมวน้ำที่ไหนจะรู้ว่าจริงหรือปลอมครับ ต่อให้รายละเอียดและตัวอย่างของบัตรจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็เถอะ)

อาจจะอ้างว่า รอขอหมายก็ไม่ทันรับประทาน ใช่ครับ ผมเห็นด้วย ในสถานการณ์บางสถานการณ์เราไม่อาจรอ หมายจากศาลก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการได้ วิฯอาญาก็คิดอย่างนั้นครับ ดังนั้นในวิฯอาญาเอง จึงมีการกำหนดข้อยกเว้นของการค้น และจับได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหมาย ซึ่งผมเห็นว่า บทบัญญัติในวิฯอาญาดังกล่าวน่าจะเป็นมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิขั้นต่ำของประชาชนที่เกี่ยวข้อง และเป็นมาตรฐานการใช้อำนาจขั้นสูง ของเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามกฎหมายแล้ว

ถ้อยคำที่ปรากฏในวิฯอาญา เกี่ยวกับข้อยกเว้นการค้นและจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจากศาลนั้น ค่อนข้างจะครบถ้วน และผมเห็นว่า มันปรับใช้ได้ในสถานการณ์พิเศษได้อยู่แล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น การให้จับบุคคลผู้กระทำความผิดได้ ในกรณีที่ ไม่มีข้อสงสัยใดๆว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด เช่น เมื่อบุคคลผู้ถูกจับได้กระทำความผิดลงต่อหน้าต่อตา เจ้าหน้าที่ผู้จับกุม หรือที่กว้างขวางตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือ เมื่อมี “เหตุอันควรสงสัย” ว่าผู้ถูกจับได้กระทำความผิดมา ทั้งนี้ไม่ว่าเพราะ การสังเกตจากพฤติการณ์ หรือจากการครอบครองอาวุธหรือวัตถุที่สามารถใช้กระทำความผิดที่ปรากฏต่อหน้าเจ้าหน้าที่

แม้กระทั่งจับตามคำขอของใครสักคนที่อ้างว่า บุคคลผู้ถูกจับนั้นได้กระทำความผิด โดยมีการร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว ซึ่งผมถือได้ว่า เหตุจับโดยไม่ต้องมีหมายเหตุนี้ “กว้างขวาง” เพียงพอที่จะเบียดบัง ดินแดนแห่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วล่ะครับ

สำหรับการค้นโดยไม่มีหมายนั้น วิฯอาญาก็มีมาตรฐานในการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำการค้น สามารถค้นในที่ “รโหฐาน” (สำหรับคำๆนี้ มีประเด็นครับ “ที่รโหฐาน” นั้น ไม่มีนิยามชัดเจนแต่อย่างใด กฎหมายเพียงแต่ให้ความหมายว่า “ที่รโหฐาน” หมายถึง ที่ต่างๆซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดังบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา (กฎหมายอาญาปัจจุบันนี่แหล่ะครับ กฎหมายลักษณะอาญายกเลิกพ้นการบังคับใช้ไปตั้งแต่ พ.ศ.2500 แล้วครับ)” พอไปเปิดในดูใน ประมวลกฎหมายอาญา (สืบทอดมรดกมาจากกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 นั่นแหล่ะครับ) ก็พบว่า คำว่า “สาธารณสถานนั้น หมายถึง สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้” ฉะนั้นจึงให้ความหมายของ “ที่รโหฐาน” ได้ว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชน “ไม่” มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้นั่นเองครับ กำปั้นทุบดินดีมั๊ยครับ คำนี้)

เอาเป็นว่า เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นบ้าน หรืออาคารที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน สุ่มสี่สุ่มห้าโดยไม่มีหมายค้นไม่ได้ ทะเล่อทะล่าเข้าไป อาจเจอข้อหา “บุกรุก” ได้รับ เพราะว่า “เข้าไปโดยไม่มีอำนาจ” แต่วิฯอาญาก็ไม่ใจร้ายและเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ขนาดนั้นหรอกครับ เพราะวิฯอาญา กำหนดเหตุ หรือสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ผู้ค้นนั้นสามารถเข้าทำการค้นใน “ที่รโหฐาน” โดยไม่ต้องรอหมายศาลได้ โดยกำหนดเหตุไว้ไม่ว่าจะเป็น

เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน , เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำความผิดลงต่อหน้าซี่งได้กระทำในที่รโหฐานนี่แหล่ะ , รวมทั้งการติดตามไล่ล่าอย่างกระชั้นชิด (hot pursuit) คนร้ายที่ทำผิดต่อหน้าตำรวจแล้ววิ่งหนีไปในบ้านของชาวบ้านเค้า อันนี้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องลงทุนนั่งรอจนกว่ามันจะหิวโซเซออกจากบ้านมาเอง เข้าไปได้ครับ , หรือเมื่อไอ้คนที่จะจับน่ะ เป็นเจ้าของบ้านเอง แล้วเจ้าหน้าที่สามารถจับได้โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเพราะมีหมายจับไอ้หมอนั่นแล้ว หรือจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติ เห็นได้ว่าวิฯอาญาเอง ก็ไม่ได้คุ้มครองสิทธิอย่างไม่ลืมหูลืมตา หรือเฟ้ออะไรขนาดนั้น ไม่ได้เรียกร้องให้มีหมายถึงสองใบ ทั้งค้นทั้งจับ หากเป็นกรณีที่ไอ้คนที่จะถูกจับมันอยู่ในบ้านมันเอง

และที่กว้างขวางพอตัวในการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ก็คือ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ค้นมีความสงสัยตามสมควรว่า สิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน

พูดง่ายๆ ช้าไม่ได้ เดี๋ยวหลักฐานจะหายไปหมด

จะเห็นได้ว่า ทั้งมาตรการค้นและจับโดยไม่ต้องรอหมายศาลนั้น จะต้องมีเหตุอยู่เหตุหนึ่ง ที่บัญญัติไว้ด้วยถ้อยคำครอบจักรวาลว่า “เหตุอันควรสงสัยตามสมควร” ซึ่งผมถือว่านี่คือกฎหมายที่ให้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาตามสถานการณ์ได้ และยืดหยุ่นไม่เคร่งครัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินบทบาทของการ “ควบคุมอาชญากรรม” ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ลำพังแค่นี้ ก็งงกันเป็นไก่ตาแตกกันแล้วครับ ว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่า “เหตุอันควรสงสัยตามสมควร”

ศาลครับศาล ศาลจะต้องเป็นผู้ทดสอบ หรือตรวจสอบ การใช้ดุลพินิจให้ความหมายตามถ้อยคำดังกล่าว เพื่อวางเป็นบรรทัดฐานในการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต่อไป ว่าไอ้ถ้อยคำที่กว้างขวางดังมหาสมุทรนั้น มีขอบเขตเพียงใด

แต่กว่าเรื่องจะถึงมือศาลครับ…

ผมถึงมีความคิดอคติไว้ก่อนกับบรรดากฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายสามารถค้น หรือจับ บุคคลโดยไม่ต้องกระทำการตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในวิฯอาญา เพราะผมคิดว่า ส่วนใหญ่ มักจะถือฤกษ์ “สะดวก” มากกว่าที่จะ “จำเป็น” จริงๆ ที่ไม่สามารถใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้ในวิฯอาญาได้

สังเกตได้ว่าข้างต้น ผมจะพูดถึงแต่มาตรการค้นและจับ แต่กฎหมายพิเศษอื่นๆ รวมทั้งพระราชกำหนดฉบับเจ้าปัญหานี้ด้วย ไม่ได้มีแค่การค้นและจับเท่านั้น แต่มีนวัตกรรมทางอำนาจอื่นๆมากมายที่มันสมองของนักกฎหมายในรัฐบาลจะคิดค้นประดิษฐ์ออกมาได้ ไม่ว่าจะด้วยภูมิปัญญาตัวเอง หรือลอกเลียนภูมิปัญญาชาวบ้านเค้ามา

ผมไม่เถียงครับ ว่าในบางสถานการณ์อาจมีความจำเป็นพิเศษที่จะปรับใช้วิฯอาญาได้ไม่ถนัดนัก และการตีความขยายอำนาจของตัว ไม่เป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่จะคิดนวัตกรรมอะไรให้มันบรรเจิดมากมาย เราควรต้องย้อนกลับมามองสิ่งที่มีอยู่ก่อนว่าสามารถปรับใช้ได้เพียงพอหรือไม่ หากมันไม่เพียงพอจริงๆ (พอไม่พอ ผมเห็นว่า ไปเถียงกันในสภาครับ ให้ประชาชนรับฟังจากการถ่ายทอดด้วย ไม่ใช่ นั่งซุบซิบในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเท่านั้น) จะคลอดมันออกมาก็คงไม่มีใครว่าอะไรมั๊งครับ สำหรับการถกเถียงกันก่อนคลอดมาตรการใดๆออกมาก็คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ว่า มาตรการเหล่านั้นมัน “จำเป็น” มากน้อยแค่ไหน “สัดส่วนระหว่างผลประโยชน์จากการบังคับใช้ตามมาตรการนั้น กับสิทธิและเสรีภาพหรือประโยชน์ของปัจเจกชนนั้น ได้ดุลกันหรือไม่” “เป็นหนทางอันสุดท้ายจริงๆหรือไม่” หรือมีแต่ไม่ถึงใจ ไม่ทันใจ พระเดช พระคุณท่าน

และที่สำคัญ “ได้มีการวางมาตรการในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจในการใช้มาตรการนั้นๆไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะการยึดโยงกับอำนาจตุลาการ”

มากไปกว่านั้นครับ

ไอ้ที่เขียนๆไว้ในพระราชกำหนดดังกล่าว ล้วนแต่เป็น มาตรการที่มีผลกระทบอันเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ ในรัฐธรรมนูญ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น เสรีภาพในเนื้อตัวร่างกาย เสรีภาพในการอยู่อาศัยในเคหสถานโดยปกติสุขไร้การรบกวนจากอำนาจรัฐ เสรีภาพในการเดินทาง ออกจากบ้านไปไหนมาไหน เสรีภาพในการเสนอข่าว แสดงความคิดเห็น ซึ่งย่อมหมายรวมถึง “สิทธิและเสรีภาพในการได้รับข่าวสารของประชาชน” และเสรีภาพในการชุมนุมกันอย่างสันติ

เรียกได้ว่า กระทบแทบทุกมิติของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญกันเลยทีเดียว สนุกดีนะครับ ไม่ได้เห็นฉบับเต็มๆของพระราชกำหนดดังกล่าว เพราะคงต้องอ้างถึงบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่กฎหมายฉบับนี้ไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพมายาวเหยียดเป็นหางว่าวแน่ๆ (หรือไม่ได้อ้างวะ)

แล้วบังเอิญกฎหมายรัฐธรรมนูญ เองก็ได้เปิดช่องให้จำกัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวได้ หากมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐไว้ คราวนี้ก็สบช่องสิครับ เพียงแค่ออกกฎหมายมาใช้ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถกระทำการอันเป็นการกระทบสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้เลย มันง่ายขนาดนั้นเลยหรือครับ

ถ้าเล่นกันตามเนื้อหากติกา ก็ไม่ง่ายเช่นนั้นหรอกครับ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดในมาตรา 29 ว่า การออกกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนจะกระทำได้ “เท่าที่จำเป็น” และ “จะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นไม่ได้” นอกจากนั้นเหตุผลในการออกมาตรการที่จัดสิทธิและเสรีภาพทั้งหลาย ส่วนใหญ่รัฐธรรมนูญยังเรียกร้องให้ต้องมีเหตุผลเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย

แต่จะว่าง่ายมันก็ง่าย โดยเฉพาะหากพิจารณาจากอำนาจของรัฐบาลภายใต้ท่านผู้นำ ณ นาทีนี้ เพราะไอ้ถ้อยคำที่ว่า “จำเป็น” เอย “สาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ” เอย และ “เหตุผลที่ออกเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี” เอย มันช่างกว้างขวาง ปานมหาสมุทร หย่อนมาตรการอะไรออกไป ก็ไม่แคล้ว “เหมาะเจาะพอดี” ไปหมดล่ะครับ

ผมเองไม่ค่อยไว้วางใจ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และบริหาร ณ เพลานี้มากนัก

ผมเห็นว่า แม้มาตรวัดที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ อาจถูกบิดเบือนและบิดเบี้ยว ยังไง แต่ในสติปัญญาผมที่พอมี ผมเห็นว่า เราอาจทดสอบน้ำหนักของมาตรการดังกล่าว ด้วยไม้บรรทัดที่วิฯอาญาสร้างไว้นั่นแหล่ะครับ น้ำหนักแห่งการละเมิดสิทธิ และน้ำหนักของการคุ้มครองสิทธิ ก็ควรจะไม่หย่อนกว่ากันให้มันมากมาย จนน่าเกลียดน่าชังนัก หรือง่ายๆ เราควรต้องรักษาน้ำหนัก ในไลน์เดิมๆ ไว้ไม่ให้มันกระโดดไปมากนัก จนไร้บรรทัดฐาน จนนึกจะออกอะไรก็ออก กลายเป็นสำนักปฏิฐานนิยม ที่เห็นอำนาจนิติบัญญัติยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด
เรื่องของดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกำหนดฉบับนี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลไม่น้อยเช่นกันครับ ไม่ใช่ว่าผมไม่ไว้วางใจ หรือดูถูกดูหมิ่นอะไรท่านนะครับ แต่ประวัติศาสตร์ และประสบการณ์แห่งชาติไทย มันชวนให้คิดตลอดมาว่า ไอ้กฎหมายที่มักกำหนดถ้อยคำอันกว้างขวางในการให้อำนาจไว้นั้น มันเสี่ยงต่อการถูกบิดเบือนได้โดยง่าย โดยเฉพาะไอ้เหตุอันควรสงสัยเนี่ย เพราะทุกวันนี้ก็สงสัยกันให้รึ่มอยู่แล้ว

รวมทั้งอำนาจในการควบคุมตัว ตาม มาตรา 12 ด้วย เพราะเห็นว่าเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุม ตัวบุคคลผู้ต้องสงสัยได้ไม่เกิน 7 วัน (มากกว่าในวิฯอาญา หลายเท่า เพราะวิฯอาญากำหนดให้ควบคุมตัวผู้ถูกจับขั้นต้นได้เพียงไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนจะต้องส่งให้ศาลตรวจสอบและฝากขังต่อศาลต่อไป) หลังจากนั้นหากต้องการควบคุมตัวให้นานมากกว่า 7 วัน ก็ต้องขออนุญาตศาลครับ โดยขอขยายได้ อีกครั้งละไม่เกิน 7 วัน รวมแล้วจะกี่ครั้ง ต้องไม่เกิน 30 วัน

ปัญหามันอย่างนี้ครับ

คือ หลังจากที่ควบคุมไว้เต็มปรี่ 30 วันแล้ว กฎหมายฉบับนี้ยังเปิดโอกาสให้ ควบคุมตัวไว้ต่อได้ โดยเลี่ยงให้ใช้ไปใช้การขอฝากขังตามวิฯอาญา แทน แล้วไอ้วิฯอาญาที่ว่าเนี่ย มันฝากขังได้หลายผลัดๆละ ไม่เกิน 12 วัน รวมได้สูงสุดไม่เกิน 84 วัน

คราวนี้ปัญหาคือ ไอ้ที่ว่า ควบคุมได้ 30 วันก่อนหน้าจะมาเข้าช่องวิฯอาญาเนี่ย มันไม่นับรวมน่ะสิครับ หมายความว่า หากควบคุมมา 30 วันแล้ว ยังไม่หนำใจ ก็ใช้ช่องวิฯอาญาต่อ ได้อีก 84 วัน รวมแล้ว 1 2 3 4 …

114 วันเข้าให้แล้วครับ

ไม่แน่ใจว่า ไอ้ที่อยู่ในการควบคุมตัว 30 วัน ก่อนเข้าช่องวิฯอาญา สิทธิที่กำหนดไว้ในวิฯอาญาจะได้นำมาใช้ด้วยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการที่จะมีทนาย หรือบุคคลที่ไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วย หรือจะเลี่ยงไปว่ายังไม่มีการสอบสวนตามวิฯอาญา ดังนั้นไอ้สิทธิทั้งหลายในวิฯอาญาจึงไม่นำมาใช้??

นั่นหมายความว่า 30 วัน ตั้งแต่ถูกจับ ผู้ถูกจับจะอยู่ใน “ห้วงสุญญากาศ” แห่งกระบวนการยุติธรรม เพราะไม่รู้ว่ามันจะถูกจัดไปอยู่ตรงไหน ของกระบวนการยุติธรรม ?? หลายคนในรัฐบาลอาจคำรามว่า “พุทโธ่! เอ็งน่ะคิดมากเกินไป ไอ้เด็กปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม (วัว) ไม่มีใครเค้าคิดร้ายหรอกน่า ทำไปเพราะรักชาติทั้งนั้น เอ๊ะ พูดอย่างนี้ไม่รักชาตินี่หว่าเอ็งอ่ะ เดี๋ยวปั๊ดเหนี่ยว”

คร๊าบ ผมกลัวแล้วคร๊าบ เพราะผมเองเคยได้ยินอาจารย์พูดบ่อยๆว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น นักกฎหมายก็นั่งลง” เพราะคงพูดจากันด้วยเหตุผลไม่ได้แล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่ดังนี่ครับ ไว้ดังใกล้ๆบ้านผม เดี๋ยวผมเงียบเองแหล่ะ ผมเป็นคนว่านอนสอนง่ายครับ

เหนือสิ่งอื่นใด ที่ผมเขียนเรื่องนี้ก็เพราะ

ห่วงน่ะครับ กลัวจะอยู่ไม่ครบ 8 ปี

สุดท้ายนี้ผมขอยกประโยคของ Benhard Rehfeld ที่ผมคิดว่ามันน่าจะเข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี เค้าว่าไว้อย่างนี้ครับ “การค้นพบการนิติบัญญัติเป็นการค้นพบที่น่ากลัวยิ่งกว่าการค้นพบไฟหรือดินปืนเสียอีก เพราะเท่ากับเป็นการมอบชะตากรรมของมนุษย์ไว้กับมนุษย์ด้วยกันเอง”

ผมเอามาจากหนังสือ “นิติปรัชญา” ของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ปรมาจารย์ทางกฎหมายอีกท่านของเมืองไทยครับ

อำนาจนิติบัญญัตินี่น่ากลัวนะครับ เพราะเราเพิ่งค้นพบมันได้ไม่นาน ประสบการณ์ของเรายังไม่สามารถสั่งสอนเราได้ทั้งหมดว่า อะไรที่เราบัญญัติได้ และอะไรที่เราบัญญัติไม่ได้ หรือไม่ควรบัญญัติ

อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของผมตอนนี้ ผมว่าอำนาจนิติบัญญัติที่ใช้โดยคน 500 คน (อาจจะบวกอีก 200 เป็น 700) ยังไงก็น่ากลัวสู้อำนาจนิติบัญญัติที่บัญญัติโดยคนเพียง 36 คนไม่ได้หรอกครับ

แต่เอ๊ะ…

เดี๋ยวนี้เค้าไม่ต้องถึง 36 แล้วนี่หว่า แค่นายกกับรัฐมนตรีผู้รู้ใจอีกหน่อ ก็เทียบเท่าคน 36 คนแล้วนี่

ยิ่งน่ากลัวใหญ่เลยครับคราวนี้

ตัวใครตัวมันครับท่านผู้อ่าน

43 Comments:

Blogger ratioscripta said...

ผมแก้ไขบล็อกเป็นครั้งที่ 4 แล้วครับ

เพราะมันดันไม่ปรากฏอยู่ในรายการโพสของผม และผมไม่สามารถแก้ไขใดๆได้ นอกจากนั้นยังทิ้งความเห็นไม่ได้อีกแหน่ะ

ว่าจะแก้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว

แล้วแต่เวรกรรมแล้วกันครับ

เฮ่อ

หากผมล่วงเกินใครด้วยวจีกรรม มโนกรรม กายกรรม รวมทั้ง ขีดๆเขียนกรรม (ใครนึกคำที่มันถูกต้องกว่านี้วานบอกทีครับ)

ขอขมากันไว้ตรงนี้เลยครับ

ของเค้าแรงจริงๆ

11:47 AM

 
Anonymous Anonymous said...

พี่เขียนไว้เหมือนกันในเรื่องนี้ เหมือนกันฯ ลองเข้าไปอ่าน ในบล๊อกพี่แล้วกัน พี่ว่า กฎหมายไทยชักจะแปร่ง ๆ เพราะอำนวยความสะดวก และคุ้มครองผู้ต้องหา มากกว่าผู้เสียหาหย ตัดมือตัดไม้ เจ้าหน้าที่ฯ โดยไม่มีมาตรการรองรับใด ๆ คนร่างกฎหมาย ก็อ้าง กม. ของสหรัฐฯ อ้างอยู่ตัวเดียว โดยไม่ครบวงจรฯ อ้างแต่ 4th, 5th, 6th Amendment of the U.S. Constitution แต่ไม่อ้าง Federal Rule of Evidence, etc พี่สรุป คือ อยากจะทำอะไรก็ทำไป แต่เวลาการปฏิบัติงานของตำรวจและเจ้าหน้าที่ไม่ได้ผล ประชาชนเดือดร้อน ก็อย่าไปตำหนิ จนท. มันแล้วกันฯ

อย่างเรื่อง พรก. นี้ก็เหมือนกัน กระผมอยากให้ผู้ที่คัดค้าน ไปทำมาหากินในพื้นที่ สัก ๒ หรือ ๓ เดือน ไปใช้ชีวิต ท่ามกลาง ความกลัวอย่างเช่นชาวบ้านฯ เรื่องนี้ ควรจะต้องถามชาวบ้านในพื้นที่ ที่เป็นบริสุทธิ์ ว่าเขาต้องการอะไร สนับสนุนหรือค้านฯ แต่เพื่อน ๆ ของผม ที่เป็นคนในพื้นที่ฯ ล้วนแต่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาทั้งสิ้น ไม่เห็นมีใครคัดค้านฯ มีแต่พวกที่เสียประโยชน์ ออกมาคัดค้านฯ ไม่เข้าใจ................ว่า ไอ้พวกนี้ ไปรู้ความต้องการชาวบ้านได้อย่างไร ในเมื่อตัวเองอยู่ในห้องแอร์เย็น ๆ ไม่ต้องฝ่ากระสุนแบบชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ฯ

ไอ้กรรมการ สมานฉันท์ฯ ทำงานต้องนาน ...ไม่เห็นได้เรื่องได้ราวฯ ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น เรื่องการปกครอง มันต้องมีทั้งพระเดช และพระคุณนั่นแหละ มีแต่พระคุณฯ มันก็ไม่ได้เรื่องอะไรหรอกฯ

1:07 PM

 
Anonymous Anonymous said...

คนไทยจำนวนหนึ่ง มักคิดว่า การใช้อำนาจและความรุนแรงแก้ไขปัญหาได้ เพราะดูเหมือนสิ่งที่กระทำลงไป สงบ ระงับ โดยไม่ได้หวนคิดเลยว่า แท้ที่จริง เหตุที่เกิดมันยังไม่ดับ มันแต่ สงบไปพักหนึ่ง รอเวลาปะทุขึ้นมาใหม่

หลายคนไม่ชอบแนวทางสันติ ก็เพราะมองว่า มันช้า ได้ผลไม่ทันใจ เลยชักไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริงคนไทยจำนวนมากมีความรุนแรง อยู่ในสายเลือด โดยไม่ต้องไปถามหาความรุนแรงจากโจรบ้า ห้าร้อยที่ไหน

ผมไม่เข้าใจว่า คนที่ค้านเขามีอะไรต้องสูญเสีย จริง ๆ เขาจะอยู่เฉย ๆ ก็ได้ เพราะไม่ได้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับเรื่องนี้

หากบอกว่า เจ้าหน้าที่ที่นั่นทำงานไม่ถนัด ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้มีกฎหมายให้อำนาจอยู่หลายฉบับ เพียงแต่สิ่งที่ดูไม่ถนัดถนี่ น่าจะเป็นเรื่องทำอะไรไม่ดี ละเมิดอำนาจผู้คนแล้วจะถูกกฎหมายแพ่ง หรืออาญาเล่นงาน ฯลฯ หรืออย่างไรไม่ทราบครับ

ขนาดก่อนหน้านี้มีกฎหมายกลั่นกรองการใช้อำนาจ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ทำให้ผู้คนตายจำนวนมาก ยังหาคนมารับผิดไม่ได้เลย อย่างนี้ ต่อไปให้ใช้อำนาจกันเต็มที่ (ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้ ทางการยังระบุไม่ได้ชัดเจนด้วยซ้ำว่า ใครคือผู้กระทำความผิด ได้แต่ สงสัยคนนู้นคนนี้ ดังนั้น ทางที่ถูกต้องแล้ว จึงควรทำงานภายใต้กระบวนการที่ได้รับการกลั่นกรอง)
ใครต่อใครมิโดนเช็คบิลโดยศาลเตี้ยไปตาม ๆ กันเหรอครับ ??

ไม่ได้กาล เดี๋ยวต้องมีคนมาหาว่าผมเข้าข้างผู้ก่อการร้ายอีกแน่ หรือไม่ก็ท้ากันเหยง ๆ ว่า ไปสิ ไปอยู่ ไปทำงาน

ทั้ง ๆ ที่ อันที่จริงแล้ว คนที่ใช้กำลังในการปราบปรามคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น โจร เป็นเจ้าหน้าที่ มันก็น่าตำหนิเหมือน ๆ กัน

ในสังคม ย่อมมีความหลากหลาย ทุกคนมีหน้าที่เป็นของตัวเอง ทุกอาชีพ เป็นฟันเฟืองที่ทำให้สังคมขับเคลื่อนไปได้ สังคมจะไม่วุ่นวายเลย ถ้าทุกคนทำตามหน้าทีของตัวเอง อย่างเต็มที่ โปร่งใส และมองเห็นความเป็นจริง

นักวิชาการ ก็มีหน้าที่หนึ่ง นักการเมืองก็มีหน้าที่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็มีหน้าที่หนึ่ง แต่แน่นอน ในสังคมหนึ่ง ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่ดำเนินไป ย่อมมีจุดเชื่อมโยงกันอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง การทำหน้าที่ของแต่คนในบางครั้ง จึงอาจทำให้ผู้มีหน้าที่ในอีกฟากหหนึ่งไม่พอใจ
ซึ่งก็ไม่ว่ากันครับ แต่นอกจากความไม่พอใจแล้ว น่าจะลองเปิดใจรับฟัง คำเตือน คำแนะนำ เพื่อมาปรับปรุงการทำหน้าที่ของตนบ้าง ก็คงดีไม่น้อย มิใช่หรือ ????

12:15 PM

 
Blogger pin poramet said...

ขอแสดงความนับถือคุณต้อง และคุณข้างบนที่อยู่เหนือผม

5:45 PM

 
Anonymous Anonymous said...

I still agree with the gov't that this situation is necessary for the gov't to do something to keep the public order.

These kinds of law are abundant in several countries all over the world.

The system to examine the performance of the gov't and the officials is very important! However, which measures should be applied must depend on the different situations too!

Nothing is fixed! The flexibility is very important sir!

10:05 PM

 
Blogger ratioscripta said...

ประเด็นที่ผมต้องการสื่อถึงมันอยู่ตรงนี้ครับ

แน่นอนครับ ภารกิจของรัฐในการปราบปรามอาชญากรรมต้องมีทั้งสองด้านเสมอ นั่นคือ มาตรการเพื่อประสิทธิภาพของการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และอีกด้านหนึ่งคือ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา อันหมายถึงผู้ต้องสงสัยและจำเลยในชั้นฟ้องด้วย และพยาน

สองสิ่งนี้ดูเหมือนจะแยกพิจารณาต่างหากจากกันได้ แต่แท้จริงแล้วไม่ครับ

เพราะประสิทธิภาพในการปราบปรามอาชญากรรมต้องมาพร้อมกับการตรวจสอบถ่วงดุลให้กระบวนการปราบปรามรวมถึงมาตรการในการใช้อำนาจรัฐเหล่านั้น เป็นกระบวนการที่ "ชอบธรรม" เสมอ เพราะเมื่อใดก็ตามที่รัฐอ้างอำนาจในการปราบปรามอาชญากรรม แต่กระบวนการหรือมาตรการที่รัฐใช้กับก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเกินควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับผู้ที่บริสุทธิ์

การกระทำของรัฐนั้นก็อาจกล่าวได้ว่าคือการประกอบ "อาชญากรรม" เสียเอง

และจะก่อให้เกิดความปั่นป่วน วุ่นวายในสังคม ทำนอง "ตายสิบ เกิดแสน" ไม่จบไม่สิ้น

นั่นย่อมหมายถึง หากรัฐไม่สามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รวมทั้ง ไม่ทำให้การใช้อำนาจของรัฐเกิดความ "โปร่งใส" ได้

"ศรัทธา" ของประชาชนต่อกระบวนการและการใช้อำนาจรัฐ ย่อมไม่เกิด

"ศรัทธา" ต่อการใช้อำนาจรัฐ ไม่ใช่เกิดขึ้นได้จากการที่รัฐใช้อำนาจอย่างเฉียบขาดและมีประสิทธิภาพเท่านั้น

แต่ "ศรัทธา" ต่อการใช้อำนาจรัฐ ยังเกิดจากการ ที่รัฐใช้อำนาจนั้นอย่าง "โปร่งใส" และเปิดกว้างในการ "ตรวจสอบ" จากองค์กรอื่น

ที่สำคัญ รัฐนั้นต้อง "ยอมรับผิดชอบ" จากการกระทำของตนนั้น อย่างอกผายไหล่ผึ่ง สู้หน้าประชาชนได้อย่างไม่เกรงกลัว ไม่อับอาย และตอบคำถามได้ เมื่อตนใช้อำนาจไปกระทบผู้อื่น ก็ต้องเปิดโอกาสให้ผู้นั้นใช้สิทธิและเรียกร้องสิทธิ ถามหาความเป็นธรรมจากองค์กรอื่น "ที่เป็นอิสระและเป็นกลาง" ได้ด้วย หากรัฐมั่นใจในดุลยพินิจในการใช้อำนาจของตน ก็ย่อมไม่ต้องเกรงกลัวต่อการตรวจสอบ

แต่บทบัญญัติหลายมาตราในพระราชกำหนดนี้นั้น ไม่ได้เดินตามทางข้างต้นที่ผมว่าไว้เลย

ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 17 ที่ส่อให้เห็นถึงอาการ "กลัวความผิด" อย่างออกนอกหน้านอกตา ทั้งๆที่หากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำไปด้วยความสุจริต เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการแล้ว เจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการนั้นได้อยู่แล้ว และเมื่อทำโดยมีอำนาจ ก็ย่อมไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด ไม่เห็นต้องร้อนตัว

นอกจากนั้นการกำหนดให้การออกมาตรการใดๆ ที่ออกตามพรกนี้ ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครองนั้น เห็นได้ชัดว่าเป็นการปฏิเสธ การตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก โดยเฉพาะองค์กรหลักแห่งความเป็นนิติรัฐอย่างองค์กรตุลาการ

เพื่ออะไรเหรอครับ ตอบผมหน่อย

อาจะแก้เกี้ยวไปว่า ไปฟ้องศาลยุติธรรมก็ได้

งั้นตอบคำถามผมอีกข้อครับ

ลำพังออกเพียงมาตรการ ออกกฎ เฉยๆ ศาลท่านจะถือว่ามีการ "โต้แย้งสิทธิ" ตาม มาตรา 55 ที่ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจะสามารถใช้สิทธิทางศาลฟ้องต่อศาลแพ่งได้หรือยัง

ตามแนวที่ศาลท่านถือมาตลอด

หากยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ แล้วจะฟ้องศาลไหนได้อีกครับ

สงสัยต้องพึ่งศาลเจ้าพ่อเสือและศาลหลักเมืองแล้วล่ะมั๊งครับ

นิติรัฐแบบไทยๆ

12:26 AM

 
Anonymous Anonymous said...

สวัสดีครับ แหะ ๆ ขอแอบกลับเข้ามาอีกสักครั้ง ประเด็นที่ผมกล่าวถึง คงเป็นประเด็นที่คุณ Ratioscripta ต้องการสื่อนั่นเอง เพราะ ในทีสุดแล้ว การใช้กำลัง การใช้อำนาจ ไม่ว่าจะโดยใคร มันสำคัญที่ ต้องมีการกลั่นกรอง และตรวจสอบ คานอำนาจกัน ไม่ใช่ว่า นึกจะทำอะไรก็ทำได้น่ะครับ

ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่า กฎหมายตัวนี้ ประเทศอื่น ๆ เขาก็มีกัน (จริง ๆ จะว่าไป ไม่ใช่แก่นแกนสาระด้วยซ้ำที่ควรยกขึ้นมาอ้างว่า ที่อื่น ๆ เขาก็มี เพราะ บริบท สังคม ปัญหาที่เกิด มันแตกต่างกัน การแก้ไขก็ต้องแตกต่างกันอยู่แล้ว) การมีหรือไม่มีใช้ จึงไม่ใช่เครื่องลางของขลัง หรือ ใบรับประกันได้ว่า ปัญหาความไม่สงบเหล่านั้นมันจบลงได้ ตรงกันข้ามกลับมีสถิติ และปรากฎข้อเท็จจริงด้วยซ้ำว่า กฎหมายให้อำนาจเต็มที่ในลักษณะนี้ต่างหาก ที่จะเป็นตัวเร่งเร้าอย่างดีให้รัฐต้องใช้ความรุนแรง เข้าปราบปราม จนปัญหามันจะบานปลาย เพราะ อย่างที่บอกครับ ความรุนแรงไม่ใช่ตัวดับ "เหตุ" เมื่อเหตุ มันยังไม่ดับ "ผล" มันจะดับไปได้อย่างไรกันเล่า ??

อย่างไรก็ตาม เมื่อกลับมาพูดถึงเรื่องนี้แล้วท่านน่าจะได้ลองกลับไป
ศึกษากฎหมายทำนองนี้ที่เขาใช้ ๆ กันอยู่ก่อนนำขึ้นมาอ้างด้วยนะครับว่า ที่เขาใช้ ๆ กันอยู่น่ะ มันเขียนให้อำนาจล้นฟ้า ที่ใครหน้าไหนก็ตรวจสอบการทำงานไม่ได้ แบบที่ พรก. ตัวนี้มีอยู่หรือไม่

ผมไม่เคยเห็นกฎหมายประเทศไหน เขียนบอกว่า เจ้าหน้าที่รัฐจะทำบ้าบอกับประชาชนอย่างไรก็ได้ โดยมิต้องกังวลว่า ท่านจะต้องรับผิดหรือไม่ ทั้งทางแพ่ง และอาญา ...โอ้ พระเจ้ายอด มันจอร์ดมากครับ ...สาบานได้ไอ้แบบนี้ ผมพึ่งเคยเจอก็ครั้งนี้นี่แหละ

การใช้อำนาจ มันจะดีได้ ก็อย่างที่คุณ Ratioscripta ว่าไว้แหละครับ มันจะดีได้ มันก็ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ก็ถ้าในเมื่อคิดว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัว ต้องปิด ต้องรับผิด มันถูก มันต้อง แล้วคุณจะเขียนกันความผิดไว้แบบนี้เพื่ออะไร เจตนาในการเขียนมันก็สื่อตรง ๆ อยู่แล้ว ว่าคุณเตรียมตัวที่จะทำอะไรสักอย่าง ที่แน่นอนละเมิดสิทธิเขา

แต่ก็นั่นล่ะครับ เดี๋ยวคุณจะบอกอีกว่า ก็ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ มันก็จำเป็นต้องละเมิดกันบ้าง 555555 ครับ ๆ ๆ คงต้องละเมิด แต่ไอ้พวกที่มันถูกละเมิดล่ะ ไม่มีสิทธิ ต่อสู้ปกป้องสิทธิของตัวเองบ้างเลยหรืออย่างไร ??? เลยชักไม่แน่ใจว่า ประเทศนี้มันเป็นของใครกันแน่หว่า ไม่รู้ว่า ประชาชนยกประเทศนี้ให้ รัฐบาล และเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ผูกขาดการละเมิด และการใช้สิทธิป้องกันตัวเอง แต่ฝ่ายเดียว ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ (สงสัยจะตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว...เหอ ๆ คงช่วยไม่ได้จริง ๆ)

ครับ มันคงดูรุนแรงไปนิด เพราะที่ผมเขียนเป็นการมองในแง่ร้าย ๆ ที่มันอาจเกิดขึ้นได้ จากการใช้อำนาจแบบนั้น (แล้วมันก็มักเกิดขึ้นด้วย นะ พ้มไม่ได้โม้) แต่แง่มุมเหล่านี้ต่างหากที่เรามองข้ามไม่ได้ เพราะถ้ามองข้ามเมื่อไหร่ ก็เสร็จเมื่อนั้นครับ

ไอ้ที่ทำดีเราก็ชื่นชม ไอ้ที่ดูท่าไม่เข้าท่า เราก็ต้องช่วยกันออกมาเตือน ๆ ไม่ใช่ว่า ทำแมวอะไรก็ตำหนิไปเสียทั้งหมด ใคร ๆ เขาก็รักประเทศตัวเองกันทั้งนั้นแหละครับ ใครมันจะอยากให้ประเทศล่มล่ะ ก็มันอยู่เรือลำเดียวกันนี่นา เรือล่มก็ตายกันหมดครับ...ดังนั้นเมื่อเห็นว่า ไอ้ที่เคยแก้ ๆ กันมา ใช้กำลังกันมา มันไม่ได้ผล ก็้ต้อง มองหา ปรับเปลี่ยนท่าที อย่าใจร้อน ด่วนได้ และชื่นชมใน ผลที่ฉาบฉวย เหล่านี้ต่างหากที่เรียกว่ายืดหยุ่น

ส่วนไอ้ชนิดที่ว่า ไม่ฟัง ตูจะออก ตูจะใช้อำนาจลูกเดียว มันไม่ตายใช้ไหม มันไม่หยุดใช่ไหม ก็ตบกัน ตบมัน ตีมัน เดี๋ยวมันก็หยุดเอง ตูจะเอาแบบนี้ ใครหน้าไหนอย่าได้เข้ามาวิจารณ์เชียว 55555 อย่างนี้ เขาเรียกว่า ตายตัว ติดแน่น แข็งทื่อ จนออกจะตายด้าน...ครับ

ผมอ่านแถลงการณ์โดยสำนักนายก ฯ แล้วก็หวั่น ๆ ใจ และตระหนกใจไปด้วยแบบคู่ขนาน มีอย่างที่ไหนกัน กฎหมายที่ให้อำนาจล้นฟ้า ละเมิดสิทธิประชาชนได้ กฎหมายที่ควรกำหนดให้แคบที่สุด โดยตั้งอยู่บนความไม่ไว้วางใจในการใช้อำนาจของรัฐ ของคน ๆ เดียว กลับเขียน "เผื่อไว้" ใช้สถานการณ์อื่น ๆ 5555 ยุคคอมมิวนิสต์ เผด็จการ ยังไม่อาจหาญ เขียนกันซะขนาดนี้ การละเมิดสิทธิประชาชน "เผื่อกันได้ด้วยเหรอครับ ???"

หลักที่ว่า รัฐกระทำไม่ได้ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ยังไม่ถูกทำลายหรอกครับ นักกฎหมายทั้งหลายไม่ต้องตกใจไป เพราะ รัฐไม่ได้ใช้อำนาจอะไรที่กฎหมายไม่ได้กำหนดจนดูว่า เป็นการกลับหลัก กลายเป็น รัฐกระทำได้หมด ถ้ากฎหมายไม่เขียนห้าม

มันยังไม่ถูกทำลายเพราะอะไรเหรอครับ เพราะเดี๋ยวนี้ มันหนักกว่านั้น คือ อำนาจอะไรที่ไม่ดี ไม่มี รัฐเนี่ยแหละก็เขียนกำหนดไว้ซะเลย ต่อไปนี้ จะได้ใช้ได้ (ฮา)

แหมชักจะออกนอกเรื่อง ไปแยะ พูดมากไป เดี๋ยวจะหาว่าผมเป็นพวกไม่รักชาติ เพราะบังอาจไปวิจารณ์กฎหมายที่ออกมาจากรัฐบาล หรือการทำงานของรัฐบาลไปเสียฉิบ... แต่ก็แหม การกระทำของรัฐบาล ไม่ใช่การกระทำของรัฐไทยทั้งหมดนะครับ แล้ว รัฐบาลก็ไม่ใช่ประเทศไทยซะด้วยสิ ดังนั้น ด่ารัฐบาล เลยไม่น่าจะเกี่ยวกับ ด่ารัฐไทย หรือไม่รักประเทศไทยมั้ง ??รัฐบาลก็เป็นแค่ ฝ่ายบริหาร เป็ฝายหนึ่งที่นอกเหนือจาก ฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายตุลาการ น่ะครับ เมื่อฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายบริหาร จะลุกขึ้นมาละเมิดสิทธิประชาชน ละเมิดกฎหมาย ฝ่ายตุลาการที่ควรตรวจสอบ ถ่วงดุลย์ เขาควรจะอยู่กันนิ่ง ๆ ฉะนั้นหรือไงเล่า ???

เอาล่ะ ผมคงไม่เถียงหรอกครับ แล้วก็ไม่ได้คิดจะเถียงมานานแล้วด้วยว่า ตอนนี้ที่ภาคใต้ตึงเครียดกันขนาดไหน อันตรายกันซะขนาดไหน ต้องเห็นใจกันทุกฝ่าย (แน่นอน ยกเว้นคนที่กระทำความผิดจริง ๆ ก็ไม่น่าเห็นใจ แต่ต้องผิดจริง ๆ นะ ไม่ใช่แค่สงสัย ก็จับมาสอบสวน แล้วละเมิดซะ) ดังนั้น การใช้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เลี่ยงไม่ได้หรอก แต่ถ้าใช้อย่างเป็นธรรม โปร่งใส คนอื่นตรวจสอบได้ ผมว่า มันจะสวยกว่าแยะนะ นอกจากไม่ได้รับการต่อว่า ด่าทอ เวลาทำอะไรผิดพลาดแล้ว ยังน่าจะได้รับคำสรรเสริญเยินยอไปแทน อ้อ แล้วขอเถอะครับ ไอ้ กฎหมายทำนองนี้ ออกให้มันจำกัด ๆ ไว้จะดีกว่า ฉุกเฉิน ตรงไหนก็ออกมันตรงนั้น อย่า"เผื่อเอาไว้ละเมิด" ที่อื่นเลยครับ.....เห็นใจประชาชนเจ้าของประเทศด้วย
จักขอบพระคุณยิ่ง...อิ อิ อิ

3:09 AM

 
Blogger ratioscripta said...

ด้วยความที่ประเด็นถกเถียงอันร้อนแรง ไม่แพ้กระแสสังคมที่ออกมาขานรับพระราชกำหนดฉบับนี้อย่างล้นหลามตามโพลล์ของสำนักสำรวจทั้งหลายในเวลานี้

มันเย้ายวนใจผมทำให้ผมตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ในรูปของบทความ เพื่อตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกวันรพีปี 48 ที่จะถึงนี้ โดยเก็บเอาประเด็นอื่นๆไว้ในลิ้นชักต่อไป (จริงๆแล้วผมขี้เกียจต่างหาก คิดเรื่องอื่นไม่ทัน ไหนๆแตะเรื่องนี้ไว้แล้ว ก็เอาให้สุด)

และไอ้เพื่อนรักของผมก็ร่ำๆว่าจะเขียนเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ไม่ได้ลงหนังสือเล่มเดียวกัน โดยเน้นไปที่มุมมองของนักกฎหมายมหาชนอย่างมัน

ไว้มีโอกาสคงได้เอามาเผยแพร่ให้อ่านและวิพากษ์กันต่อครับ เพราะผมเชื่อว่าพระราชกำหนดฉบับนี้ยังอยู่คู่กับสังคมเราไปอีกนาน การเรียนรู้มองมันให้ครบในหลายด้านหลายมุม และไม่ใช่เพียงผลร้าย อย่างที่ผมมองอยู่ เป็นสิ่งที่สังคมนี้ต้องการ และต้องกระทำ

เพราะไม่รู้ว่าไอ้เสียงเยินยอ ยินดี ของคนส่วนใหญ่ ยามเมื่อเห็นพลุลูกนี้ส่องสว่างไสวบนท้องฟ้ายามค่ำคืน จะกลายเป็นเสียงกรีดร้อง โหยหวนเมื่อไหร่ ยามเมื่อสะเก็ดของพลุร่วงตกใส่กบาล

และที่น่ากลัวคือ ไม่รู้ว่ามันจะตกใส่หัวใคร แม้แต่คนที่เคยยินดีกับมันด้วยก็ตาม

10:24 AM

 
Blogger pin poramet said...

ขอบคุณคุณไร้นามและคุณ ratio อีกครั้ง ที่ช่วยให้โรคภูมิแพ้ผมทุเลาไปได้มาก

11:20 AM

 
Anonymous Anonymous said...

I would like to clarify my position. As an officials who used to function in the dangerous situations, the law to protect the officials is very important!

As far as I have studied several laws both in Thailand and those in the U.S, these kinds of law are abundant! [even though those laws have been enacted in the different contexts, but Thailand does adopt those laws.] The states have the privilege from being sued by the private since in the ancient era! Not a long time ago, the states waived this privilege.

I could not agree with you more that the state must excercise the power faithfully based on the good ground to obtain the trust from the citizens.

I will not say anything else because each person has his own opinion. I think it is necessary, and as the state officials who used to work in the same boat as those state officials, I agree with the gov't to enact this law.

I agree with khun "no-name" that the innocent people must be protected from being abused of powers. They have the rights to protect their lifes, properties, etc. Nobody cannot agree with you. However, in this situation, we some measurements to cope with this problem as well as the sanction to protect the innocent people!

The vital problem that the gov't concern, I think, is the integrity and security of our nation! I emphasize!!!! - OUR NATION! Several sanctions both pro and con must be implemented simultaneously; I am strongly positive!

Finally, why don't we wait for the result of the gov't effort? I will not say that which opinion is right or wrong but I have my own position. [If you have to work in the same job as me, you might have the same opinion with me!] Any way, this is the last time for me to give my opinion in this topic. I love Thailand as you, and I have the strong intention to protect our nation! Whatever that I can do, I will!

3:03 PM

 
Anonymous Anonymous said...

สวัสดีครับ ยินดีจังครับที่คงจะได้มีบทความดี ๆ ในเรื่องนี้จากท่านผู้เขียนบล็อก

ผมคิดว่า การถกเถียง แลกเปลี่ยนที่วางอยู่บนเหตุผล มันไม่มีใครเสียอะไร มีแต่ได้ ได้มุมมองใหม่ ได้แง่คิด ได้ปัญญา คงไม่มีใครต้องการเอาชนะใคร หรืออยากให้ท่านใดต้องเชื่อ หรือไม่เชื่อในความคิดเห็นที่เรานำเสนอ เพราะแต่ละคน ก็ต้องมีความคิด มีภาระหน้าที่ เป็นของตัวเอง ส่วนท่านใดจะคิดว่า ท่านอยู่ตรงนี้ก็อาจคิดแบบนี้ ท่านอยู่ตรงนั้นก็อาจคิดแบบหนึ่ง นั่นก็เป็นเรื่องที่ผมยืนยันความหลากหลายตรงนี้มา
แต่ต้นมือแล้ว ปัญหาคงไม่เกิดถ้าทุกฝ่ายเข้าใจกัน และเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของกันและกัน มองอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ตั้งธงไว้ก่อนฟังเสียแล้วว่า คนค้าน คนคิดเห็นต่างไปจากตัวเอง จะ เสีย หรือว่าได้ประโยชน์อะไรจากการนำเสนอ
ความเห็นที่แตกต่างนั้น

สำหรับ "ผล" ที่จะออกมา ผมเชื่อว่า หลายคนครับ ที่ตั้งตารออยู่ (เพราะตอนนี้มันทำอะไรไม่ได้แล้วล่ะมั้ง)

และผมคนหนึ่งแหละ ที่ไม่ได้คิดจะเรียกร้องว่า ต้องเห็นผลเร็ว
ทันอก ทันใจซะด้วย (แบบที่หลาย ๆ คนอยากเห็นจากกรรมการสมานฉันท์) เพราะปัญหาเรื่องนี้มันซับซ้อน และมาใกลเกินที่จะแก้ไขกันแบบง่าย ๆ ด้วยวิธีการแบบอำนาจ ๆ เสียแล้ว ดังนั้นจะช้าจะเร็ว ก็เอาให้ได้เถิดครับ แต่ขอสะกิดเตือนเล็ก ๆ เท่านั้นว่า "ถ้าผลมันไม่ออกมาอย่างที่โฆษณา" เสียดิบดี ล่ะก็ คราวนี้ จะหาแพะ หาแกะ หาหมู หาแมวที่ไหน มารับผิดบาปในความไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้
แทนคงไม่ได้แล้วนะคร๊าบบบบ...ท่าน ๆ แหละที่ต้องรับไปเต็ม ๆ

4:12 PM

 
Blogger ratioscripta said...

ยินดีครับ ที่ทุกท่านแลกเปลี่ยนความเห็นกันบนพื้นฐานของ "ความรักชาติ" ทั้งคู่

พี่พลอาจรักชาติบนฐานแห่งการบังคับใช้อำนาจ เพื่อความสงบเรียบร้อย และเด็ดขาด

แต่ผม (และคาดว่าคุณนิรนาม รวมทั้งคนอีกสักหยิบมือหนึ่งแล้วกันน่า)กลับรักชาติบนพื้นฐานแห่งการไว้เนื้อเชื่อใจ และศรัทธา

คำว่าศรัทธานั้น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความเห็นของใครคนใดคนหนึ่งนะครับพี่ ศรัทธาของประชาชนไม่ใช่อัตตะวิสัย

มันเป็นภาวะวิสัยได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ ผมเห็นศรัทธาของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมมันเสื่อมจริงๆ และไม่ต้องบอกนะครับพี่ว่า หน่วยงานไหนในกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนเสื่อมศรัทธาน้อยที่สุด

มันน่าเจ็บปวดนะครับ ผมเข้าใจ เพราะผมรู้ว่าหากเราต้องอยู่ในสายงานดังกล่าว ทุ่มเทเต็มที่ และไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง แต่กลับถูกมองด้วยสายตาเหยียดหยาม มันน่าน้อยใจและเจ็บปวดเพียงใด

แต่ผมก็ยังยืนยันครับ สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ศรัทธาในการใช้กฎหมายของรัฐคืนกลับมานั้น ไม่ใช่เพียงด้านการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด เฉียบขาด เสมอหน้า ไม่เลือกปฏิบัติ และมีประสิทธิภาพในด้านนำคนผิดมาฟ้องลงโทษได้อย่างรวดเร็วและไม่ผิดตัว

แต่ศรัทธาของประชาชนยังเกิดขึ้นจากความโปร่งใส ซึ่งรัฐแสดงออกให้เห็นถึงความจริงใจ ให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของตนได้ ตามหลักนิติรัฐ

ใจจริงผมไม่อยากรอดูผลการใช้พระราชกำหนดฉบับนี้เลยให้ตาย เพราะอะไรหรือครับ

ผมคิดมาตลอดว่า ศาสตร์ทางสังคมอย่างเรามันไม่ใช่แบบวิทยาศาสตร์ที่สามารถทดลองผลในห้องแล็ปก่อนนำมาใช้ได้ และที่สำคัญเราไม่สามารถคาดการณ์ได้หรอกครับว่าผลมันจะเป็นอย่างไร และจะเกิดขึ้น ณ เวลาใด

ดังนั้น มาตรการอะไรก็ตามเชิงสังคม ที่จะใช้ปรับเปลี่ยนทิศทาง หรือกำหนดทิศทางของประชาชนและสังคม ต้องได้รับการพิจารณาอย่างถ้วนถี่ และละเอียดรอบคอบ ควรรับฟังและได้ฉันทามติจากทุกฝ่าย เพราะเมื่อผลเกิดขึ้น จะได้ไม่ "โยน" ความผิดกัน

ผมเคยฟังตลกร้ายอยู่เรื่องหนึ่ง จำลมปากเค้ามาเล่าต่อน่ะครับ

ลุง : เอ็งรู้มะ คนคิดระบอบคอมมิวนิสต์น่ะ เป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือ สังคมศาสตร์

หลาน : อ้าวลุง จะบ้าเรอะ ก็ต้องเป็นนักสังคมศาสตร์ดิ

ลุง : ผิด เค้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ต่างหาก

หลาน : ทำไม??

ลุง : ไม่เห็นเรอะ ว่ามันทำการทดลองระบอบคอมมิวนิสต์อยู่ ว่าจะก่อผลอย่างไร และมันก็ได้คำตอบตอนที่รัสเซียมันล่มนั่นแหล่ะ

หลาน : ???

10:50 PM

 
Anonymous Anonymous said...

เข้ามาอ่าน เริ่มจะเป็นภูมิแพ้ เหมือนกัน

3:16 PM

 
Blogger ratioscripta said...

ไม่ทราบว่าแพ้อากาศ พระราชกำหนดฉุกเฉิน หรือแพ้ความต่างครับพี่ 555

ล้อเล่นน่า

ส่วนผมอากาศภูมิแพ้หายไปนานแล้วครับ แพ้อากาศหายไปตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว แพ้พระราชกำหนด...ของแบบนี้ไม่สามารถทำให้ผมแพ้ได้ รู้สึกดี เหมือนมีอะไรมายืนยันแนวทางของตัวเองดี เหมือนมีอะไรมาทดสอบว่าตัวเองยังอยู่ในเส้นทางเดินเดิมหรือไม่ หรือเปลี่ยนไปแล้ว

ส่วนแพ้ความเห็นต่างนี่เพิ่งหายไม่นานครับ เพิ่งหายจริงๆจังช่วงเรียนกฎหมายนี่แหล่ะ โดยเฉพาะได้มาอยู่ในแวดวงบล็อกเกอร์ มันหายสนิทเลยครับ

ขอบคุณชาวบล็อกทุกท่าน

7:03 PM

 
Anonymous Anonymous said...

อ่านๆแล้วได้ความรู้สึกว่า นักกฎหมายเมืองไทยกับนักบวชไม่ต่างกัน ต่างคิดว่ากฎหมายเป็นศีลธรรมที่ละเมิดมิได้ ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งทุกตัวอักษร จนไม่สนใจบริบทของสถานการณ์และการใช้

กฎหมายส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือในการใช้งานภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เมื่อสถานการณ์ไม่ปกติ เครื่องมือที่ใช้ต้องไม่ปกติ อย่าตัดตีนให้พอดีเกือกเลย ตัดเกือกให้พอดีตีนดีกว่า

กลับมาที่3จังหวัด ผมเองรู้สึก ตำหนิทหารและเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ที่จนถึงป่านนี้ทำงานไม่ได้ผล การข่าวไม่ดี แต่ตำหนิบนพื้นฐานของความเข้าใจในสถานการณ์ว่า การข่าวถูกสังหารไปหมด เพราะเกิดสูญญากาศทางอำนาจตั้งแต่ยุบ ศอบต. บวกกับสถานการณ์สากล ที่คุกกรุ่นขึ้นมา ทำให้การคลี่คลายเป็นไปได้ยาก การออกกฎหมาย พรก.นี้มา เห็นได้ชัดว่า ยุทธศาสตร์รับมือจากเน้นการปราบและเน้นการทำความเข้าใจเพื่อสร้างสมานฉันทร์เปลี่ยนไปแล้ว มามุ่งเน้นการปราบปรามและระงับเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดขึ้นเป็นหลัก เพราะฝ่ายยุทธศาสตร์คงคิดแล้วว่า ฝ่ายตรงข้ามศักยภาพสูงมาก ซึ่งอันที่จริงไม่แปลก ถ้าดูเหตุการณ์วางระเบิดสนามบินหาดใหญ่ ระเบิดห้างคาร์ฟูร์ และการรบนอกแบบกลางเมืองยะลาในช่วงหัวค่ำของสัปดาห์ก่อนๆ เพราะฉะนั้นทางเลือกอื่นจึงไม่มีนอกจากใช้กำลังสกัดจับและปราบ ระงับเหตุการณ์ก่อนจะเกิดขึ้น โดยมีพรก. เป็นเครื่องมือสำคัญ

ถามว่า พรก.นี้ใช้แก้ปัญหาได้ไหม ผมไม่ทราบ แต่คิดว่าเครื่องมือเก่าๆที่นำมาใช้มันไม่ได้ผล เพราะจุดประสงค์รัฐไทยกับฝ่ายตรงข้ามไม่ลงตัว ต่างฝ่ายยังเชื่อว่ามีศักยภาพสูงกว่าอีกฝ่าย เพราะฉะนั้นเงื่อนไขแรกที่ยื่นขึ้นมาจึงยากทำใจรับทั้ง2ฝ่าย ต้องรบและปราบกันไปสักพักหนึ่งก่อน ถ้าไม่ทราบผลแพ้ชนะ ก็มาดูจุดประสงค์ของแต่ละฝ่ายกันอีกที ว่ามีต่างจากเดิมหรือไม่ ถ้าไม่มีใครชนะเด็ดขาดและไม่มีต่างชาติมาแทรกแซง สุดท้ายมันต้องปรับตัวให้เข้ากับดุลยภาพของการเจรจาเอง ว่าจะเป็นในแบบใด เรื่องมันไม่จบง่ายๆหรอก แต่ระหว่างการเจรจาด้วยปืน การอ่อนข้อกับอีกฝ่ายในช่วงแรกๆ เป็นสัญญาณการต่อรองที่ไม่ดี นี่คือโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ใช่หอคอยงาช้างสังคมศาสตร์แบบไทยๆที่เน้นการด่านักการเมืองมากกว่าการวิจัย

ระหว่างการรบและปราบ มันมีคนล้มเจ็บตายแล้ว เรื่องธรรมดา คนบริสุทธิ์ ต้องเป็นเหยื่อ เป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันเป็นเช่นนี้เสมอมา โลกมันเป็นเช่นนี้ การออกแบบให้มีกฎหมายหรือการดำเนินการแก้ปัญหา แบบคิขุอาโนะเนะ ไม่มีใครล้มเจ็บตาย ทุกฝ่ายเฮฮาปาร์ตี้ รักใคร่กลมเกลียวกัน ยิ้มกันยิงกันไป ไม่มีคนบริสุทธิ์โดนลูกหลง ปราศจากน้ำตาของทุกฝ่าย มีสิทิมนุษย์ชนเต็มที่ มีเสรีภาพเต็มที่ มันไม่มีหรอกไอ้กติกาหรือกฎหมายที่ว่านี่ในระหว่างสงคราม เข้าใจไหม ปิ่น ปรเมศวร์ Trade Off ท่องไว้บ้างเพื่อน

ขอเพียงให้ คนบริสุทธิเดือดร้อนน้อยที่สุด ละเมิดสิทธิเสรีภาพเท่าที่จำเป็น และมีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาได้มากกว่าเดิม

ผลโพลส่วนใหญ่ สื่อมาว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ พรก.นี้ ปกติผมเองเห็นต่างจากคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เสมอมา นี่เป็นไม่กี่ครั้งที่เห็นตรงกัน

อย่าลืมว่า กฎหมาย พรก. ฉบับนี้มีมาเพื่อรับมือสถานการณ์ไม่ปกติทาง3จังหวัดภาคใต้ มีการบังคับใช้ไม่กี่มาตรา และเป็นไปไม่ได้ที่จะเอา พรก.นี้มาใช้กับเรื่องอื่นๆ ถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไม่เห็นด้วย ส่วนเรื่องผลข้างเคียงจากการบังคับใช้พรก.นี้ ต่อคนบริสุทธิ์ย่อมมีเป็นธรรมดา เพราะผมเองยังคิดไม่ออกเลยว่า มีกฎหมายใด หรือหลักการใดในโลกนี้ ที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อคนบริสุทธิ์ ต่อสิทธิ เสรีภาพของมนุษย์

ดูสถานการณ์โลก ประเทศที่อารยะกว่าทางกฎหมายและความโปร่งใส ก็มีกฎหมายในลักษณะดังกล่าวออกมาแทบทั้งนั้น อย่าใส่ใจเรื่องอุปนิสัยทักษิณ หรือข้อปลีกย่อยอื่นๆมาก ดูปรัชญากฎหมายพรก. และสถานการณ์ไม่ปกติ เป็นตัวโจทย์ดีกว่า และFind Solution เอา ระหว่างหาSolution มันจะคิดถึงTools ไปเรื่อยๆ แหละ พรก. นี้เป็นTools อันหนึ่งเท่านั้นเอง มีหลายtools ที่ผมคิดได้ นักยุทธศาสตร์ของไทยย่อมคิดได้เช่นกัน

สุดท้าย โลกซับซ้อนมาก ประเทศที่อารยะ เช่นสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีมาตรฐาน ศีลธรรม สิทธิมนุษย์ชนต่างกันออกไปตาม ผลประโยชน์ของประเทศเขา ผลประโยชน์ทุนในประเทศและผลประโยชน์คนในชาติเขา 2ประเทศดังยกตัวอย่างมา เป็นตัวแสบในการะละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิมนุษย์ชนคนชาติอื่นๆ และศีลธรรมจรรยาสากล จะเข้าใจโลกต้องมองโลกตามความเป็นจริง อย่าเอาอุดมคติไปยัดเยียดว่า โลกควรจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และตั้งตนมองโลกจากจุดนั้น วรรคนี้ฝากถึงคนรู้จักของผมที่เป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อที่เขาจะได้เห็นโลกที่เป็นจริงไม่ใช่โลกในฝันหรือโลกในอุดมคติของตนเพียงฝ่ายเดียว

สำหรับน้องต้อง อาการภูมิแพ้ของพี่ มาจากการแพ้คนที่อยู่ในโลกอุดมคติ และมายัดเยียดโลกดังกล่าวให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องปฏิบัติตาม มิหนำซ้ำบางท่าน ยังทึกทักว่าตนเองเข้าใจโลกอย่างดิบดี ถ้าบางท่านบัญญัติมายาคติของระบบทักษิณข้อที่10 ว่าด้วยระบบทักษิณไม่มีอะไรดีเลยได้ เท่ากับกำลังหูตามืดมัวกับโรคภูมิแพ้ทักษิณอย่างหนัก จนไม่เข้าใจความไม่ปกติของเหตุการณ์ เห็นหน้าเหลี่ยมทำอะไรเป็นผิดหมด ไม่เห็นความเชื่อมโยงของเหตุการณ์โลกทั้ง สหรัฐ ลอนดอน อียิปต์ บาหลี และ3จังหวัดภาคใต้ของไทย นับว่าน่าสนใจว่า เขากำลังมองโลกแบบไหนกัน แบบกลมหรือแบบเหลี่ยม

8:46 PM

 
Blogger ratioscripta said...

ผมไม่ใช่พวกแพ้ทักษิณ จะว่าไปถ้าจะเอาคนเป็นกลางทางการเมืองจริงๆ ผมก็น่าจะเป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น ผมทำงานภายใต้ระบบราชการ แต่ไม่ใช่รัฐบาล ผมถือว่าผมโชตดีที่อยู่องค์กรอิสระ ไม่ว่ามันจะอิสระจริงหรือแค่เปลือกก็ตาม

ผมไม่เคยทำงานให้พรรคการเมือง และไม่รู้สึกศรัทธาใครคนใดคนหนึ่ง เพราะผมเลือกที่จะนับถือระบบที่ปกครองโดยกฎหมาย หาใช่คนมาแต่นมนานกาเลแล้ว เพราะฉะนั้นใครจะเป็นอย่างไรผมจึงไม่เคยสนใจ

ผมสนใจแต่เค้าทำอะไร และว่ากันไปตามเนื้อผ้า ตามหลักการที่ผมเรียนมา ผมอาจด้อยประสบการณ์และไม่เข้าใจสถานการณ์แท้จริงอย่างที่พี่บอก ผมยอมรับข้ออ่อนและข้อด้อยตรงนี้

แต่ผมก็เชื่อว่ามีไม่กี่คนในประเทศนี้รู้จักสถานการณ์ดีพอ แม้จะอ้างว่าตัวเองรู้ดีที่สุดก็เถอะ ไม่เว้นคนในรัฐบาล หรือผู้นำอย่างทักษิณเอง เพราะถ้ารู้จักสถานการณ์ดีแต่แก้ปัญหาไม่ได้เสียที ก็ควรพิจารณาตัวเองได้ตั้งนานแล้ว

การแก้ปัญหาโดยวิ่งตามสถานการณ์แบบไร้จุดยืน จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเราไม่รู้ว่าสุดท้ายเรากำลังต่อสู้อยู่กับอะไร

กับโจรกระจอก

กับลัทธิก่อการร้าย ที่ต้องเต้นเป็นเจ้าเข้า ไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

กับองค์กรมาเฟียธุรกิจผิดกฎหมาย

กับลัทธิแบ่งแยกดินแดน

หรือ กับอัตตาของใครบางคนกันแน่

เราเล่นวิ่งตามเกมส์ แก้ปัญหาแบบไร้แก่นสาร แรงมาก็แรงไป ไม่สนใจยุทธศาสตร์ มันก็ได้แต่รักษาตามอาการของโรคแค่นั้น

ผมอยากจะยืนยันเป็นครั้งที่ร้อยล้าน ว่ากหมายกับศีลธรรมมันคือเรื่องเดียวกัน และไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย เอาอัตตะวิสัยของใครคนใดคนหนึ่งมาตัดสิน และมาร่างหรือบังคับใช้กฎหมาย มันมีรายละเอียดมากกว่านั้น รอวันตกผลึกก่อน เดี๋ยวผมจะสาธยายให้ฟัง

และที่สำคัญ จงอย่าคิดว่ากฎหมาย กับอำนาจเป็นเรื่องเดียวกันอย่าเด็ดขาด

รวมทั้งไอ้ความคิดที่ว่ากฎหมายคือ "เครื่องมือ" ด้วย จริงอยู่บางด้านเป็นแบบนั้น แต่นั่นคือส่วนที่เล็กน้อยที่สุดของสิ่งที่เรียกว่ากฎหมาย

หากคิดว่ามันคือเครื่องมือเท่าไหร่ อำนาจนิติบัญญัตินี่แล จะเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด โดยเฉพาะอำนาจนิติบัญญัติของยุคนี้ ไม่ได้อคติ แต่ลองตรองดูเถิด

ผมไม่เถียงว่ามาตรการเหล่านี้ต้องกระทบสิทธิ ผมก็ว่าไว้ในสิ่งที่ผมเขียน จนแทบจะเขียดเส้นใต้ไว้ห้าร้อยเส้นแล้ว แต่ขอเถิด ขอให้มีกระบวนการตรวจสอบได้บ้าง ไม่ใช่ปิดหูปิดตา จะตรวจสอบการใช้อำนาจก่อน หรือหลังก็ว่าไป ตามแต่ความจำเป็นรีบด่วน ด่วนจริงทำไปก่อนแล้วให้ตรวจที่หลังก็ได้ ไม่ว่ากัน

จริงใจหน่อย

การเขียนกันไว้ตลอดว่า ไม่ผิด ไม่รับผิดชอบ ตรวจสอบไม่ได้ มันแสดงถึงความไม่จริงใจเลยพับผ่าสิ

การปฏิเสธการตรวจสอบเป็นการปฏิเสธความโปร่งใส และไม่ให้เกียรติกันเลย ผมแคร์แค่นี้แหล่ะพี่ และก็ยืนยันว่าไม่ว่าเทวดาที่ไหนมาเป็นนายก และออกกฎหมายแบบนี้ ผมก็จะเถียงแบบนี้ทุกคนทุกรายไป ไม่ว่าอินทร์หรือพรหม

สิ่งที่พี่พูดไว้น่ะมันถูกต้องแล้ว ว่าคนบริสุทธิ์อาจถูกกระทบสิทธิจากการใช้อำนาจรัฐ ผมเห็นด้วย เพราะมาตรการปัจจุบันที่ใช้อยู่ก็ปรากฏการละเมิดสิทธิให้เห็นจนเบื่อ โดยไม่จำกัดแค่พระราชกำหนดฉบัยนี้ แต่...

มันต้องมีการตรวจสอบ จำเป็นไหม ได้สัดส่วนไหม ทางสุดท้ายหรือไม่ เหมือนที่พี่บอกเป๊ะ

ไอ้สามอย่าง มันต้องมีการชี้ขาดชี้วัดตัดสิน จากองค์กรอื่น และต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนด้วย (accountability) ไม่ใช่อ้างแต่จำเป็นๆๆๆๆ คุ้มแล้วๆๆๆๆ เสียสละเพื่อประเทศชาติ ผมว่ามันเลื่อนลอยว่ะ

ล้นเกล้ารัชกาลที่หกท่านเคยปรารภไว้อย่างนี้ครับ (ไม่แม่นทุกตัวออักษร แต่แม่นในความหมายแน่นอน เพระผมไม่ใช่นักกฎหมายที่ยึดติดกับลายลักษณ์อักษรจนหน้ามืดตามัว เหมือนอย่างที่ใครมีความคิดกับนักกฎหมายทั่วไป)

"ธรรมเป็นสิ่งที่คนตั้งชั่วร้อยชั่วพันคนคิดขึ้นมา ใครประกาศว่าตนสร้างธรรมขึ้นมาเองได้ไซร้ คนผู้นั้นอวดดี"

แล้วบังเอิญ สิ่งที่เรียกว่า "ธรรม" ก็เป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า "กฎหมาย" ด้วยครับ

10:40 PM

 
Anonymous Anonymous said...

น้องต้อง พี่เขียนสั้นๆนะครับ เพราะงานพี่ก็ยุ่งเหมือนกัน

เราอยู่ในเกมส์ของอะไร การยึดหลักกฎหมายอย่างงมงายคือคนโง่ เพราะไม่มีใครในโลกเล่นเกมส์กฎหมาย กติกาศีลธรรม ในเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติและผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างประเทศหรอก ประเทศไหนโง่เล่นเกมส์นั้นเตรียมพบกับหายนะได้ ดูอังกฤษ สหรัฐฯ เป็นหลัก มีประเทศไหนเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ เคารพหลักสิทธิมนุษย์ชนสากลบ้าง เห็นไล่ฆ่ากันกลางเมือง รุกรานกันระหว่างประเทศ ส่งเครื่องบินจารกรรม ส่งสปายกัน ส่งคนไปลอบสังหาร ไปปฏิบัติการทั่วโลก ยึดครองทรัพยากรธรรมชาติ เอารัดเอาเปรียบกันในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่กีดกันทางการค้าจนถึงทุ่มตลาด อันนี้ใช่ภาวะกฎหมายเป็นธรรม ธรรมเป็นกฎหมายหรือไม่ตอบหน่อยได้ไหมครับน้องต้องและท่านนักกฎหมายทั้งหลาย

ประเทศที่ยกตัวอย่างข้างบน และ ฝรั่งเศส เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น ล้วนแต่เป็นชาติอภิมหาอำนาจ บางส่วนของประเทศที่พี่ยกมา เป็นประเทศที่นักกฎหมายส่วนหนึ่งใฝ่ฝันไปเรียนทั้งนั้น กฎหมายเป็นศีลธรรมหรือไม่ ดูพฤติกรรมชาติมหาอำนาจแล้ว นักกฎหมายท่านใดก็ได้บอกผมทีว่ายืนยันความคิดดังกล่าวหรือไม่ และทำไมยังคิดไปเรียนกฎหมายในประเทศดังกล่าวกันอีก

นักเรียนเศรษฐศาสตร์อย่างผม อดสงสัยไม่ได้ว่า นักกฎหมายกลัวตกงานหรือกลัวว่าความสำคัญอาชีพตัวเองจะลดลงไปหรืออย่างไรจึงยกความสำคัญของกฎหมายเสียเลิศลอยจนเกินกว่าโลกความเป็นจริงในระดับระหว่างประเทศใช้กัน

สำหรับผม ตัวอย่างของโลกชี้ชัดว่า มีแต่อำนาจเป็นธรรม (สำหรับปิ่น ไม่ว่าเราจะชอบโลกแบบนี้หรือไม่ แต่นี่คือโลกจริงๆที่เราอยู่ Real World )

ในโลกผลประโยชน์ระหว่างประเทศ เราอยู่บนเกมส์ที่ไม่ยุติธรรมอยู่แล้ว โลกเกมส์การเมือง หรือผลประโยชน์ระหว่างประเทศ ต้องTricky บ้าง ศีลธรรมจรรยา เก็บไว้หลอกพวกโง่ๆ หรือไว้รีดเอาผลประโยชน์จากคนอ่อนแอกว่า หรือไว้เป็นวาทกรรมสร้างความชอบธรรมต่อประชาชนฝ่ายตนเองหรือต่อมโนธรรมตัวเองเท่านั้นเอง

ที่เขียนข้างบน ไม่ใช่เพราะผมเป็นคนแบบนั้น แต่ผมกำลังสื่อว่าในระดับเกมส์การเมืองระหว่างประเทศที่มีเดิมพันคือผลประโยชน์ชาติและความมั่นคงแห่งชาติ เขาเล่นเกมส์กันอย่างไร

พี่ชอบไหม เกมส์แบบนี้พี่ก็ไม่ชอบ แต่ทำอย่างไง ถ้าเราเป็นผู้บริหารประเทศ ทำอะไรคิดถึงผลประโยชน์ชาติและคนส่วนใหญ่ของประเทศ(โดยทฤษฎีนะ) เห็นเกมส์ระหว่างประเทศเป็นอย่างนี้ทำอย่างไง เล่นไปตามFair Game เหรอ ในขณะที่คนที่เก่งและตัวใหญ่กว่าเราเล่นนอกกติกากันทั้งนั้น คงไม่ต้องบอกนะเล่นไปตามFair Game ผลเป็นอย่างไร

ในเชิงส่วนตัว เราอาจจะมีมุมมองมีมโนธรรม มีคุณธรรมส่วนตัว หรือมีอะไรว่ากันไป แต่ในภาพรวมของการตัดสินใจที่มีผลประโยชน์ชาติและความมั่นคงแห่งชาติเดิมพัน เมื่ออยู่ในจุดบริหารนโยบายชาติ ทำกันอย่างไร เล่นเกมส์อย่างไร ยกให้สหประชาชาติไปเลยไหม 3จังหวัดนี้ ความคิดความรู้สึกคนในชาติไทยพร้อมไหม และการอ่อนข้อของไทยในช่วงแรกของสงคราม นึกหรืออีกฝ่ายจะยื่นข้อเสนอที่เป็นพาเรโต้มาให้ทันที หรือข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับ2ฝ่ายมาให้ทันที บรรทัดนี้สหายปิ่นเข้าใจไหม และอย่าได้มาเขียนว่า ผมไม่เข้าใจโลกอีก อย่าได้มาเขียนว่าผมคิดอะไรไม่ซับซ้อน


น้องต้อง พี่พยายามมองเกมส์แบบเข้าใจ เข้าใจจุดยืนของผู้บริหารประเทศ และถ้าพี่ยืนอยู่จุดนั้น เกมส์ที่พี่จะใช้ เป็นเช่นใด โลกแห่งความเป็นจริง เมื่อมองจากภาพรวมของการตัดสินใจระดับประเทศมันโหดร้าย ไร้ศีลธรรม เช่นนี้แหละ เพราะโลกมันเป็นเช่นนี้ ผู้ดำเนินนโยบายมีทางเลือกอื่นไหม

ผู้ที่ประสงค์จะยุติความรุนแรง อย่าคุยกับผู้นำการเมือง แต่จงคุยกับคนทั้ง2ฝ่ายที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกัน ในกรณีของ3จังหวัดประเทศไทย คือผู้นำศาสนาใน 3จังหวัดและผู้นำศาสนาประเทศเพื่อนบ้านกับประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ คุยกันไปเรื่อยๆ สื่อสารกับทั้ง2ฝ่าย ผู้ที่สื่อสารทั้ง2ฝ่ายจะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ถ้าพลีชีพไปก่อนหรือถูกอีกฝ่ายลอบสังหารไปก่อนจะดีมาก และถ้ามีคนทำหน้าที่นี้สื่อสารให้2ฝ่ายปรองดองกัน ทำซ้ำไปเรื่อยๆ ตายไปเรื่อยๆ ในเวลาที่นานมากพอ กระแสของมวลชนทั้ง2ด้านจะเข้าใจ และจุดร่วมของข้อเสนอจะเกิดขึ้น ทว่าเนื่องจากประเทศไทยไม่มีคนอย่างมหาตมะคานธี และฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่อังกฤษ คงใช้เวลานานมากในการสื่อสารกับประชาชนทั้ง2ฝ่าย จนเห็นผล แต่เฉพาะหน้าในระยะสั้น ต้องรบกันไปอย่างนี้ก่อนแหละ

ถ้าเราเห็นโลกเป็นอย่างนี้ เข้าใจโลกเป็นเช่นนี่ ควรมีท่าทีต่อโลกในกรอบ(ผมย้ำนะครับอ่านดีๆ)การบริหารประเทศเพื่อรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงชาติกันอย่างไร ถ้าเป็นอย่างบางท่านไม่มีอะไรมาก สร้างภาพ คอยด่ารัฐบาล ด่าทหาร ด่าตำรวจ ให้คนในสังคมที่มีมุมมองเชิงปัจเจก ไม่เข้าใจโลกในระดับภาพกว้าง ชื่นชมกับภาพลักษณะคุณธรรมของตน

หรือถ้าไม่เห็นภาพกว้าง ไม่เข้าใจเกมส์การเมืองโลก อาจจะด่าทอรัฐบาล เพื่อความปิติสุขในหัวใจดวงน้อยๆ4ห้อง แต่การแสดงออกซึ่งคุณธรรมส่วนตัว ผลลัพธ์ไม่สู้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องมาจากกรอบคิด กรอบการมองไม่เห็นกว้างถึงภาพการเมืองโลกไม่เห็นเกมส์การเมืองของโลก

โลกมันเป็นอย่างนี้แหละปิ่น มันซับซ้อนกว่าเกมส์พรีเมียร์ลีกที่คุณดูเยอะ ซับซ้อนกว่าการเมืองในคณะของคุณ ซับซ้อนกว่าคนที่อยู่หอคอยงาช้างแบบไทยๆ ที่งานหลักคือด่านักการเมือง แต่ไม่เคยผลิตทางออกที่ปฏิบัติได้ จะเข้าใจ ถ้ามองโลกแบบนี้อยู่ คุณจะไม่เข้าใจเลย ว่าเขาทำอะไรกันอยู่ นี่แหละคือสาเหตุที่ช่วงที่คุณปิ่นไปทำงานที่สำนักนายกรัฐมนตรียุครัฐบาลประชาธิปัตย์ จึงเป็นยุครัฐบาลที่เล่นเกมส์การเมืองผลประโยชน์ระหว่างประเทศที่โง่เง่าที่สุด รัฐบาลหนึ่งในประวัติศาสตร์ โง่ที่จะทำตามIMF โง่ที่เชื่อหลักการ Chinese Wall ของGoldman Sachs และ JP Morgan ตลอดจนGE โง่ที่เชื่อ Fund ต่างชาติ จนเสียรู้กรณีปรส และเสียรู้มากมายให้ต่างชาติ จนทำให้ 2คู่หูนรก เอาประเด็น ปรส. มา เยาะเย้ยพรรคการเมืองประชาธิปัตย์มาถึงปัจจุบัน และคุณปิ่นต้องเป็นภูมิแพ้จนถึงทุกวันนี้เวลาดูรายการ 2คู่หูดังกล่าว

Welcome to the Real World ปิ่น ปรเมศวร์ และว่าที่นีโอ ทั้งหลาย

3:48 AM

 
Blogger ratioscripta said...

ผมเข้าใจในสิ่งที่พี่พูดนะ (แม้บางเรื่องจะต้องพยายามมากกว่านี้ก็ตาม) ตรรกะของพี่คืออย่ายึดหลักการให้ยึดสถานการณ์ความเป็นจริง คือ นักปฏิบัติ ไม่ใช่นักคิด ซึ่งต่างจากตรรกะของผมอย่างมาก

การบริหารราชการปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ รวมไปถึงแทคติค ที่ตุกติกบางประการ ซึ่งอันหลังนี้ผมไม่ถนัด ไม่ใช่ตอแหล ดัดจริต แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ

พูดง่ายๆคือต้องหัดมี "เหลี่ยมโกง" โลกแห่งความเป็นจริงของพี่มันเป็นแบบนั้น โลกที่คนอย่างผมคงอยู่ได้อย่างยากลำบากยิ่ง และผมกำลังพยายามสุดความสามารถที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของโลกบูดเบี้ยวโลกนี้

ผมเข้าใจนะ ถ้าพี่เป็นผู้บริหารประเทศพี่ก็คงทำอย่างนี้แหล่ะ แต่ไอ้ทฤษฎีสงคราม เจรจาเสมือนหนึ่งอยู่ในยุทธภูมิของพี่ ผมไม่เข้าใจหรอก และไม่เคยอยากจะเข้าใจด้วย

ผมว่าหากเราไม่แก้ปัญหาด้วยความ "จริงใจ" และ "รู้จริง" เสียก่อน ก็ยากที่ไฟสุมขอนนี้จะดับลงได้อย่างสนิท โดยเฉพาะหากเรายังไม่เคยคิดจะจริงใจแม้แต่กับคนของเราเอง

ผมไม่ได้ชวนพี่ทะเลาะนะครับ แต่ผมเห็นว่าการที่เราถกเถียงกันอย่างนี้ก่อประโยชน์มากมาย และที่ย้ำเสมอ มันกระตุ้นให้ผมรู้จักตัวเองดีขึ้นมาก และแน่วแน่ต่อแนวทางของตัวเอง อย่างที่พี่เองก็คงเป็นเช่นกัน

ผมขอปฏิเสธอย่างแข็งขันว่า ผมในฐานะคนในวงการกฎหมายคนหนึ่ง ผมไม่เคยยกศาสตร์ของผมให้เหนือพิภพชี้เป็นชี้ตายใครได้ ผูกขาดความรู้และความจริง ผูกขาดภูมิปัญญาและบทบังความรู้ของศาสตร์อื่น

ตรงกันข้ามกฎหมายกลับต้องอาศัยศาสตร์อื่นในการทำความเข้าใจสถานการณ์เพื่อให้สุกงอมและออกมาตรการรัฐบัญญัติอะไรให้สอดคล้องลงตัวกับ "เหตุผลของเรื่อง" หรือ "เหตุผลเบื้องหลัง" "ความเป็นมาและความเป็นไป" ของเรื่องๆนั้น และเพื่อช่วยในการใช้และตีความกฎหมายผ่าน "นิติวิธี" ของกฎหมาย เกื้อกูลกัน ไม่ใช่กีดกันครับ

ที่ว่าศีลธรรมนั้น มันไม่ใช่หลักลอย จะว่าไปมันก็คือ เหตุผลของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ไม่ว่าจะสังคมเล็กหรือสังคมโลกก็ตามที ที่ทุกวันนี้โลกมันบูดเบี้ยวในกรอบของพี่ โลกแห่งความจริงในกรอบของพี่มันเป็นอย่างนี้ผมว่าก็เพราะเรา "ข้ามเส้น" แห่งศีลธรรม และการอยู่ร่วมกันไปนี่แหล่ะ การใช้อำนาจอาจจำเป็น แต่ก็เพียงเพื่อให้คนที่ "ข้ามเส้น" กลับเข้าสู่เส้นเดิมเท่านั้น หาใช่การประหัตประหาร กุดหัวให้มันหมดไปจากโลก อำนาจจึงเป็นแค่สาขาย่อยของสิ่งที่เรียกว่า "เหตุผล" จะใช้ได้มากน้อยเพียงไร จึงอยู่ที่ "เหตุผล"

เราไม่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์แห่งการใช้อำนาจกันเลย อาจเป็นเพราะสันดานดิบของมนุษย์เป็นอย่างนั้น และคนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย เพียงเพราะรู้สึกสะใจ

ผมไม่ได้เสนอภาพของโลกที่เป็นจริง แต่ผมกำลังเสนอภาพของโลกที่ "ควรจะเป็น" แม้เป็นไปไม่ได้ในวันนี้ แต่ผมก็เชื่อว่าหากเราศรัทธาแล้ว วันหนึ่งเราก็คงจะได้อยู่ในโลกที่ควรจะเป็นได้บ้าง แม้ว่าจะเลือนลางห่างไกลก็ตามที หากมองจากมุมของพี่

มีคนเคยบอกผมว่า กฎหมายมันใช้ได้ยากยิ่งเพราะมันเป็นสิ่งที่แน่นอน ในขณะที่สิ่งที่อยู่ภายใต้กฎหมายคือมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนที่สุดในโลกแล้ว เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งที่มนุษย์สมมติกันขึ้นมา มนุษย์จึงไม่ตะขิดตะขวงใจเลย ที่จะลบมันด้วยเท้า เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็เขียนใหม่ได้ ไม่พอใจก็ค่อยลบใหม่ ไม่ยาก

มนุษย์ทุกวันนี้จึงหลงอยู่ในโลกของสมมติ เพราะคิดว่าตนทำได้ทุกอย่าง แต่ผมก็ยังเชื่อว่า หากสมมติของมนุษย์ไม่สอดคล้องต่อเหตุผลที่ควรจะเป็น สมมตินั้นมันก็ตั้งอยู่ได้ไม่นาน และที่ร้ายมันอาจจะส่งผลร้ายแรงอันเกินคาดเดาให้กับมนุษย์ผู้สร้างมันขึ้นมา

ผมล่ะสงสัยจริงๆว่า ความวุ่นวายที่มันเกิดขึ้นมันไม่ใช่เพราะอัตตาของมนุษย์และความบ้าสมมติของมนุษย์หรอกหรือครับ ความบ้าพลัง บ้าอำนาจ การหลอกลวง ปลิ้นปล้อน กะล่อน ตอแหล ไม่ใช่หรือครับ

แล้วเราจะยังแก้ปัญหา ด้วยไอ้สิ่งที่มันก่อปัญหาหรือครับ

ครับ มันอาจจะช่วยได้บ้าง แต่มันก็แค่ภาพลวงตา หาใช่นิรันดร์ และมันก็ไม่ใช่เป้าหมายที่พึงประสงค์ด้วย

ก็เพราะไอ้ความวุ่นวายเหล่านี้แหล่ะครับ มันถึงต้องแก้ด้วยกฎหมาย ถ้าใช้คำว่ากฎหมาย แล้วก่อให้เกิดความไม่สบายใจเพราะคิดว่ามันเป็นยาวิเศษ ผมขอใช้คำว่า กติกา หรือ เหตุผลก็ได้ครับ

แต่พอเมื่อมันสงบสุข สันดานหยาบของมนุษย์ก็เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะสันดานหยาบของพวกผู้มีอำนาจ และผู้แข็งแรงกว่า คอยฉีกกติกา ฉีกเหตุผล และสถาปนาอำนาจเป็นเสาหลัก ปัญหาก็วนกลับมาอีก สังคมวุ่นวาย ไม่มีการเคารพกฎหมาย เพราะถือกฎหมายแล้วไม่ได้อะไร

ผมไม่รู้สิครับว่า อะไรมันจะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนกว่ากัน ระหว่างอำนาจกับเหตุผล

ถ้าคำตอบเป็นอย่างแรก ผมคงเสียใจและเวทนาต่อสิ่งที่ผมร่ำเรียนมา มันช่างไร้ค่าเสียนี่กระไร ผมเรียนมันทำไม ผมไปจับอาวุธไปมีอำนาจดีกว่า ทำอะไรก็ได้

ผมขอเสนอให้พี่ปริเยศลองขึ้นมามองอะไรในหอคอยงาช้างบ้างครับ ผมเชื่อว่าพี่อาจจะได้เห็นมุมมองของปัญหาที่กว้างขึ้น เห็นภาพรวม เห็นเส้นสายโยงใย ที่ไม่ใช่แค่กระแสแห่งความรุนแรง ไม่ใช่แค่สงครามและการรบนอกแบบ ไม่ใช่แค่การจมอยู่กับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น

ผมขอสมัครอยู่บนหอคอยงาช้าง เพราะไม่ใช่แค่ผมจะมองให้พ้นจากทักษิณ แต่ผมกำลังมองข้ามความรุนแรงและอำนาจนิยม

ที่สำคัญ

อากาศข้างบนดีนะครับ ไร้มลพิษดี

5:18 AM

 
Blogger ratioscripta said...

อีกนิดพี่ ไม่ได้ตั้งใจจะรบกวนสมาธิ และไม่แน่ใจว่าพี่จะเข้ามาอ่านอีกหรือเปล่า (แหม แต่ก็น่าจะเข้ามานะ)

มีหลายคนเคยหล่นคำถามประมาณว่า หากคุณเป็นญาติของผู้ตายที่เกิดจากน้ำมือของผู้ก่อความไม่สงบ คุณจะยังอยากจะให้รัฐประนีประนอมกับมันอีกหรือเปล่า

ผมก็อยากจะถามกลับไปว่า แล้วหากคุณเป็นญาติกับผู้ตายที่เกิดจากน้ำมือของเจ้าหน้าที่ที่อ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ มีอำนาจที่จะทำอย่างไรก็ได้ เพียงแค่ วัตถุประสงค์ที่ปรากฏในถ้อยคำที่กว้างขวางว่า "เพื่อความสงบเรียบร้อย และผลประโยชน์ของประเทศชาติ" แล้ว คุณจะรู้สึกอย่างไร

คงไม่ต่างกัน

แต่มันก็มีครับ ไอ้ความต่างน่ะ

หากตายเพราะน้ำมือโจรใต้ เรายังคงมีความหวังในการเรียกร้องความเป็นธรรม และจับคนผิดมาลงโทษ

แต่ถ้าเป็นกรณีหลัง

หวังยากครับ เพราะรัฐดันไปเรียกสิ่งนั้นว่า "ชอบธรรม" ไปเสียแล้ว

5:31 AM

 
Anonymous Anonymous said...

พี่ว่าแล้ว น้องต้อง จะต้องเข้าใจว่าพี่เป็นพวกTricky ช่างมันเถอะ ชั่วๆดี พี่เป็นคนแบบนี้แหละ ไม่ได้วิเศษวิโสหรือเป็นอรหันต์จากที่ไหนหรอก และไม่เคยสร้างภาพเยี่ยงนักการเมืองด้วย

สิ่งที่พี่ต้องการสื่อให้น้องต้องเห็น คือโลกที่มันกว้างไปกว่าหน้าที่เฉพาะและศาสตร์เฉพาะด้าน อยากให้ดูโลก ที่มันกว้างจริงๆ และเห็นว่าเขาเล่นเกมส์ระดับโลกกันอย่างไรจะได้เข้าใจ ว่าผู้บริหารประเทศเขาคิด เขาวางแผนกันอย่างไร พี่เองพยายามวิเคราะห์โลกตามความเป็นจริง มิใช่ไปทึกทักเอาอุดมคติไปคาดหวังโลกและดูมันจากมุมนั้น

อย่าไปด่าคนที่ใช้เหลี่ยมคูในการเดินเกมส์ระหว่างประเทศ บรรพบุรุษของเรา ได้เดินเกมส์แบบTricky อย่างนี้หลายครั้ง เพราะรู้ว่าเราสู้มหาอำนาจไม่ได้ ประวัติศาสตร์ไทย ช่วงไทยรบกับฝรั่งเศสในสมัย ร.5 ช่วงไทยเผชิญสงครามโลกครั้งที่ 2และ ฯลฯ เรา ใช้Tricky ในการเดินเกมส์ ถ้าผู้นำเราเป็นคนโง่และซื่อ ป่านนี้เราเป็นเมืองขึ้นฝรั่งมังค่าไปนานแล้ว และช่วงสงครามเย็น ประเทศเราคงล้มตายมหาศาล ถ้าไม่เดินเกมส์ด้วยการหนุนเขมรแดงร่วมกับจีนและสหรัฐฯ เพื่อคานเวียดนามและโซเวียต ซึ่งเราก็ทราบว่า เขมรแดงมันฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนในชาติ เป็นอาชญากรของมนุษย์ชาติ

แต่บนเกมส์การเมืองระหว่างประเทศและความมั่นคงชาติ ถ้าพี่ยืนอยู่บนจุดนั้น ในช่วงสงครามเย็น พี่คงต้องเลือกระหว่างชีวิตคนไทยกว่า30ล้านคนกับชีวิตคนเขมร คงไม่ต้องบอกใช่ไหมว่าพี่ถ้าอยู่ในฐานะผู้บริหารนโยบาย พี่จำต้องเลือกทางเดินแบบที่บรรพบุรุษเราทำ

โลกมันโหดร้ายอย่างนี้แหละ ถ้าเป็นปัจเจกชนก็พอว่า ยังพอเอาหลักกฎหมายไปคุยได้ เอาหลักศีลธรรมไปพิจารณาได้ แต่พอข้ามขอบเขตเป็นผลประโยชน์ของชาติ ของความมั่นคงชาติ เลิกคิดเรื่องหลักกฎหมายและหลักศีลธรรมเลย

ประวัติศาสตร์โลกทั้งใกล้และไกล มันแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่แล้ว ในสิ่งที่พี่เขียน และถ้าน้องต้องโตขึ้นมาจะเข้าใจเอง

พี่เองไม่อยากอธิบายมาก แต่อย่างนี้แหละ พอเราเขียนความจริงว่าโลกมันโหดร้าย คนหาว่าพี่โหดร้ายดังโลกที่ยกมาแสดง ไม่มีใครมาตั้งคำถามว่า โลกที่พี่ยกมา เป็นโลกที่เราอยู่กันจริงๆใช่ไหม การทำโลกให้ดีขึ้น มีหลายวิธี พี่เองพยายามทำในส่วนของพี่อยู่ หวังว่าน้องต้องคงเจอ

สำหรับเรื่อง 3จังหวัดภาคใต้ น้องต้องPrint ที่พี่เขียนไปอ่านให้ดีๆ พี่เขียนทางออก และความเป็นไปทั้งระยะสั้นและระยะยาวอยู่ อ่านๆดีจะเจอเอง สำหรับเรื่องหอคอยงาช้างแบบไทยๆ พี่ไม่ศรัทธาครับน้องต้อง เพราะพี่ไม่เคยเชื่อว่าหอคอยงาช้างแบบไทยๆจะเห็นกว้างและไกลเยี่ยงหอคอยงาช้างฝรั่ง และที่สำคัญ พี่อยู่ตรงนี้ อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง ใช้ความรู้ที่พี่สะสมมาทั้งชีวิต ไม่ว่าจะการอ่านหนังสือ การคุยพบปะสนทนากับคนอื่นๆ เพียงพอในการมองโลก ทั้งภาพกว้าง ภาพย่อย ระยะสั้น และระยะยาว พออยู่แล้ว แม้ว่าบางครั้งภาพจะพร่าเลือนไปบ้าง เพราะข้อจำกัดของข้อมูล ตัวแปรกำหนด แต่พอผ่านไปซักพัก พี่เชื่อว่าน่าจะเห็นทิศทางของสถานการณ์ในอนาคต

น้องต้อง ถ้าเราอยู่บนจุดที่ต้องตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เราไม่มีทางเป็นตัวของตัวเองหรอกครับ ไม่ว่าเราจะมีคุณธรรมหรือหลักการสูงแค่ไหน พี่ฝากไว้เท่านี้

7:45 AM

 
Blogger ratioscripta said...

จากมุมอันอ่อนด้อยของผม ผมเห็นว่า trick ในการเดินเกมส์ กับหลักนิติรัฐ และการบังคับใช้กฎหมาย เป็นเรื่องเดียวกันได้ ส่งเสริม และเกื้อกูลกันได้ ไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างหนึ่งและทิ้งอีกอย่างหนึ่ง

ประเด็นของผมอย่างที่ผมว่าไว้ ไม่มีอะไร และไม่กว้างอย่างที่พี่กำลังมอง ประเด็นของผมคือ ไม่ควรมีอำนาจอะไรที่ตรวจสอบกลั่นกรองไม่ได้

อำนาจที่ตรวจสอบและกลั่นกรองไม่ได้ มันน่ากลัว มันอันตราย มันบิดพลิ้วได้ และจะนำมาซึ่งหายนะ มากกว่าความสงบสุข

ผมไม่ต่อต้านอำนาจ ไม่ต่อต้าน trick

ผมเข้าใจอย่างไรเสีย มันต้องใช้อำนาจ ต้องใช้เครื่องมือ ต้องเดินเกมส์ตามยุทธศาสตร์

แต่ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันต้องมีกรอบปฏิบัติ และตรวจสอบได้ ยิ่งพี่บอกว่ามันคือเรื่องของชาติ เรื่องของภาพรวม ไม่ใช่เรื่องของปัจเจกบุคคล

ยิ่งพี่พูดอย่างนั้น ยิ่งต้องดุล และตรวจสอบ

ลำพังแค่ปัจเจกบุคคล ครอบครัวในบ้าน หน่วยเล็กที่สุดนี่แหล่ะ จะให้มาตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจบิดามารดากันมั๊ยพี่ ไม่จำเป็นล่ะครับ

แต่ยิ่งซับซ้อนเพียงใด ยิ่งภาพใหญ่ภาพกว้างเพียงไร

ยิ่งต้องระวัง เพราะคุณไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ตัวคุณเอง สิ่งที่คุณกระทำมันส่งผลกระทบในทางกว้าง
ไม่ใช่แค่บ้านของคุณหลังเดียว

แล้วใครให้นิยาม ใครตัดสินครับ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของชาติและประเทศ??

มั่นใจได้อย่างไรครับ ว่าดุลพินิจที่ไม่ถูกการตรวจสอบ ดุลพินิจที่ไม่ได้รับการกลั่นกรอง ดุลพินิจบนอำนาจ จะถูกใช้อย่างถูกต้องเที่ยงธรรม

ผมมองแค่นั้นจริงๆ

ผมยังด้อยนักไม่อาจมองภาพการเมืองระหว่างประเทศและโลกทั้งใบอย่างพี่ได้

ผมยังไม่สามารถซึมซับความโหดร้ายของโลกใบนี้และสร้างความแข็งแกร่งจากความโหดร้ายได้

ผมขอสร้างความแข็งแกร่งจากสิ่งดีๆของโลกใบนี้ก่อนดีกว่า

9:43 AM

 
Anonymous Anonymous said...

ฉบับนี้ถึงปริเยศ

ผมค่อนข้างให้น้ำหนักกับคุณมาก เพราะเชื่อว่าประสบการณ์ที่คุณผ่านมา ทำให้คุณมองโลกรอบด้าน และจากความเห็นของคุณก็เป็นเช่นนั้น

แต่นั่งอ่านมาพอสมควร ของขึ้นในบางจุด

ผมไม่ชอบวิธีคิดแบบยัดคนลงไปในข้างใดข้างหนึ่ง แล้วอัดคนไปอยู่บนนั้น

นี่คือเหตุผลที่ผมหิ้วประเป๋าทำหน้าโศก หนีออกมาจากห้องราชดำเนินของพันธ์ทิพย์

ผมพูดตรงๆ ว่าการที่ปริเยศไปขุดเรื่องที่ ป.ป. เคยทำงานให้บุคลากรของพรรคประชาธิปัตย์ มันเป็นการที่แสดง "ขนาดของใจ" ที่ไม่ค่อยสวยงามเท่าไรนัก

พาลให้เสียวว่า ถ้าวันไหนความเห็นผมไม่คลิ้กคุณขึ้นมา คุณอาจจะยกว่า...

...แฟนคนหนึ่งผมเป็นลูกหัวคะแนนพรรคไทยรักไทย
...ผมจีบนักเรียนทุน "ทักษิณประทาน"
...ลุงผมได้รับการทาบทามจากทักษิณให้ทำงานสำคัญหลายชิ้น
....ก่อนมาฝรั่งเศส ผมไปกินข้าวกับ อ.ปรีชา สุวรรณทัต ที่ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ฯลฯ

ผมไม่สนใจ ว่า ป.ป. และผองเพื่อน จะผ่านอะไรมา ขอจงอย่าเป็นกังวล (น้ำเน่าว่ะ)

ผมสนใจแต่จุดยืนของเขา

คุณไม่ต้องห่วงหรอกหนา คุณเป็นสหายทางสายทองแดงที่รู้จักผมนานมากๆ ตั้งแต่สมัย User,นิติรัฐ (ผมเคยใช้ชื่อนี้), Players, บุญชิต ฟักมี ถึงไม่ได้คุยกันบ่อย แต่คุณก็คงพบเห็นผมในวงการไซโซฯ (Cyber Society) บ่อยๆ

คุณก็คงรู้ว่า เรื่องด่ากับผมมันไม่เคยเข้าใครออกใคร...
วิเศษมาจากไหน ถ้าผมพบว่าไม่ไหวแล้ว ผมก็ด่า
พระอินทร์มาเขียวๆ ผมก็ด่า
ไม่ต้องอะไร จำที่ผมของขึ้น อักเซี่ยง เส้าหลง ได้ไหม ? ผมอัดทั้งๆที่ไม่แน่ใจ ว่าตอนนั้น เซี่ยงเป็นใคร จะเป็นคุณคำนูณ เป็นคุณสนธิ หรือแม้แต่อาจจะเป็นพ่อผม พี่ผมมาเขียน ? แต่เมื่อมันไม่เข้าท่า ผมก็ด่าได้

เอาไว้รอให้เพื่อนเรา ถึงเวลาพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล แล้วนิ่งเป็นเป่าสาก ไม่หือ ไม่อือ ไม่ค้าน สามารถทำความเข้าใจได้ทุกเหตุผลของรัฐบาลก่อนเถิด
...
ไม่รอดปากกับคีย์บอร์ดผมแน่ แถมวันนั้นมีอะไรให้หุยฮาได้อีกเยอะ...

แต่วันนี้ยังไม่ใช่...

อย่าเพิ่งเอาเสื้อกั๊กการเมืองไปสวมเขา

11:37 AM

 
Anonymous Anonymous said...

อันนี้ถึงราโชฯ

ในประเด็นเรื่องกฎหมายกับศีลธรรมตามเคย ผมอ่านความเห็นแล้วจับได้ว่า คุณมองว่ากฎหมายมันต้องเบสกับศีลธรรม เพื่อนำไปสู่โลกอุดมคติที่สวยงาม ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะครับ

แต่คำถามที่ผมตั้งขึ้น คือ "โลกที่มันควรจะเป็น" ใครเป็นคนกำหนด

โลกที่สวยงามเช่นนั้น, มันสวยงามของใครหรือ ?

นี่แหละ คือสิ่งที่ผมทำใจยอมรับไม่ได้ หากจะเอาศีลธรรมมาผูกใส่กฎหมายไปเสียทั้งหมด

คุณไม่ยอมรับ เรื่องที่คนใช้กฎหมายเป็นอำนาจ

ผมก็ตะหงิดใจ กับคนใช้กฎหมายค้ำชูศีลธรรม

ที่ไม่รู้ว่าเป็นศีลธรรมของใคร ?

ผมไม่อยากเห็น การใช้กฎหมายบังคับให้คนเป็นคนดี โดยละเลยปัญหาของปัจเจกเชน

กฎหมายที่ห้ามมารดาผู้ไม่พร้อมทำแท้ง กฎหมายที่ห้ามคนทำการุณฆาตตามคำขอ นี่คือกฎหมายที่บังคับให้คนเป็นคนดีในสายตาผม โดยไม่คำนึงว่า คนเรามีทางเลือกอื่นในการใช้ชีวิตให้เป็นสุขโดยไม่เบียดเบียนใคร

โลกที่สวยงามของบางคน อาจจะได้แก่ โลกที่คนไม่ดื่มสุรา
มีครอบครัว อบอุ่น สวยงาม มีลูกก็เลี้ยงกันไป
โลกที่คนป่วยก็กัดฟันรับความเจ็บปวดไปจนสิ้นใจ

มันอาจจะสวยงาม

แต่ผมขอทางเลือกได้ไหม ...

ถ้าผมอยากกินเหล้ากินเบียร์ โดยไม่เดือดร้อนใคร

ถ้าผมอยากนอนกับแฟนผม โดยไม่ใช้อุปกรณ์คุมกำเนิด เพราะมันไม่เป็นธรรมชาติ เมื่อท้องโดยไม่พร้อม ก็เชิญเขาไปเกิดที่อื่นก่อน

ถ้าผมไม่อยากสู้กับความเจ็บปวด ไม่อยากเป็นผักบนเตียงให้คนมาเช็ดอึ ป้อนข้าว ผมขอตาย

โลกของผมอาจจะไม่สวยงาม เป็นโลกของมนุษย์ที่บกพร่อง แต่ผมขอโอกาสเลือกได้ไหม ...

ผมยึดถือในศีลข้อเดียวที่ผมประพฤติ คือการไม่เบียดเบียน

และผมเชื่อว่า กฎหมายต้องให้ทางเลือกแก่ปัจเจกชน ให้ใช้ชีวิตไปอย่างที่เขาเป็นโดยเสรี ไม่ว่าจะดี หรือร้าย เท่าที่ไม่รบกวนสมาชิกในสังคม

กฎหมายต้องไม่บังคับให้คนเป็นคนดี กฎหมายเพียงป้องกันมิให้คนรบกวน เบียดเบียนต่อสังคม รบกวนต่อความเป็นอยู่อย่างสุขสงบ (และมีอิสระ) ของเพื่อนร่วมสังคม

นี่เอง ทำไมผมเห็นว่า กฎหมายไม่พึงเอาโทษสตรีที่ทำแท้ง แต่ควรเอาโทษนักเรียนทุนที่หนีทุนโดยทุจริต

เพราะประการแรก เธอไม่เบียดเบียนใคร
แต่ประการหลัง มันเบียดเบียนนายประกันครับ

ผมกำลังอ่านหนังสือ คล้ายๆ "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป" ของฝรั่งเศสเล่มหนึ่งอยู่ เขาให้ภาพเรื่องกฎหมายกับศีลธรรมได้ค่อนข้างชัดเจนดี เป็นประโยชน์ต่อการสร้างมโนภาพในศรีษะ

และคิดว่าผมกำลังจะเขียนเรื่องกฎหมายกับศีลธรรมในมุมมมองผมได้ในอีกไม่นาน...

ต่อข้อถาม (ใครมันคิดประโยคนี้วะ โก้เป็นบ้า) เรื่องหอคอยงาช้าง

ผมไม่อยากอยู่หรอกครับ ขึ้นไปชมวิวน่ะเอา

มันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเราได้สูดดมอากาศที่ดี ไม่มีมลพิษ

ทั้งๆที่อากาศแท้ๆ ในโลกที่เราอยู่มันไม่ใช่อย่างนั้น...

11:52 AM

 
Anonymous Anonymous said...

เหอ ๆ เขียนแลกเปลี่ยนกันมันดีครับ แถมได้รับมุมมองด้วย จริง ๆ แอบเห็นด้วย กับเห็นไม่ด้วย กับสองท่าน แต่ท่านก็ถกเถียงกันไปแล้ว เลยขอแลกเปลี่ยนบ้าน สั้น ๆ ก๊ะเขาบ้าง

"แนวทาง" ผิด กับ "เครื่องมือ" ผิด มันต่างกันนะครับ คุณ ปริเยศ ไอ้ถ้าเครื่องมือผิด เปลี่ยนเครื่องถือ มันอาจจะแก้ไขกันได้ แต่ถ้าไม่พิจารณาให้ดี ๆ ไม่รู้ว่า ไอ้ที่มันผิดคือ "แนวทาง" ต่อให้เปลี่ยนเครื่องมือ เปลี่ยนอาวุธอีก ร้อย อีกพันประเภท ก็คงไม่มีทางแก้ไขปัญหาได้

การมองโลกในความเป็นจริง การรับรู้มัน แล้วจำนนต่อมัน กับ การมองโลกในความเป็นจริง เข้าใจมัน ว่ามีปัญหาแบบนี้ มันดำเนินแบบนี้ ตามเหตุ และปัจจัยแบบนี้ แล้วได้ผลไม่ค่อยพึงปรารถนานัก และพยายามทำหน้าที่ของเรา เพื่อลองขยับมันดูบ้าง คงไม่เสียหาย มั้งครับ โดยตรงนี้ แน่นอน คงไม่มีใครทำให้มัน "เฮ้ย อย่าให้ใครสูญเสียอะไรเลยนะ" เพราะมันทำไม่ได้ มันอาจทำได้ ก็คือ ทำให้มันสูญเสียน้อยที่สุดเท่านั้นเอ้ง

"โลกเราทุกวันนี้ที่มันดูเลวร้ายลง ไม่ใช่เพราะเต็มไปด้วยคนเลวหรอกครับ แต่มันเต็มไปด้วย คนดี ที่เอาแต่นิ่งเฉย และยอมจำนน ต่อมันต่างหาก"

คนที่ทำหน้าที่ของเขา มองมุมมองของเขา คง ไม่ใช่เครื่องตราหน้าเขาได้ว่า เขาเป็นคนไม่เข้าใจโลกหรอกมั้งครับ เพียงแต่ เขาอาจเข้าใจ หรือรับรู้เหมือน ๆ กัน แต่มองในมุมที่ต่างออกไปจะเหมาะกว่า

ในทางตรงกันข้าม คนที่ คิดว่า ตนเอง เข้าใจ หรือมองโลกอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่ไม่รู้ยังไง กลับมองหาความงาม ในมองมุมที่ต่างออกไปไม่ยักเจอ ไอ้อย่างนี้ ผมว่า ออกจะแคบ แม้เขาจะคิดว่า เข้าใจโลกแล้วก็ตาม

เรื่องสิทธิ เรื่องละเมิด เรื่องกฎ เรื่องศีลธรรม จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่มีจุดเชื่อมจุดโยงกันอยู่ทั้งนั้น คุณเจ้าของบล็อกก็พยายามเขียนอยู่ ปัญหาไม่ใช่ "เฮ้ย จะเลือกอะไร ระหว่าง 1 กับ 2" แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรให้มันสอดคล้องกัน อยู่ด้วยกันได้ อย่างเหมาะสมต่างหาก ไม่ใช่กระเด็น กระดอนไปสุดโต่ง ไร้ทิศทาง ที่ควบคุม และตรวจสอบ

คำอ้างที่ว่า ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ช่างเป็นเจ้าแห่งการนำเสนอเรื่องสิทธิ ในขณะที่ สิทธิของคนในประเทศตัวเองยังเอาไม่รอด เพื่อที่ไม่ใส่ใจในหลักการเรื่องสิทธิ หรือบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ประเทศชั้นก็ต้องมีบ้างแหละน่า ไม่ใช่แก่นแกนสาระ หรือ คำอ้างของคนฉลาดครับ เพราะ ประเทศใหญ่ หรือประเทศอื่น ๆ ทำไม่ดี แล้วทำไมเหรอครับ "คุณจะตำหนิโจร เพื่อเป็นโจรเสียเอง" หรืออย่างไรกันเล่า

เมื่อหลักการมันดี น่าสนใจ และใช้ได้ ใครจะรักษาไม่ได้ ใครจะมีประวัติศาสตร์เป็นอย่างไร ผมว่า ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องไปนั่งดู นั่งพิจารณา หรือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

"ปัญญาไม่เคยเกิดจากการตำหนิผู้อื่น"

แต่ควรเอาตรงนั้น มาเป็นบทเรียน แล้วแก้ไขที่เรา ที่ประเทศเรา จะดีเสียก่า นิ

การแก้ไขปัญหาโดยดูจาก สถานการณ์ และบริบทของสังคม มันต้องมีอยู่แล้ว สำหรับคนที่เข้าใจโลก แน่นอน มองข้าม เรื่องว่าใครเป็นใคร ใครเรียนอะไรไปเลย ถ้าว่า คนที่มีความคิดเสียหน่อยก็ต้องคิดได้ และผมคิดว่า ท่าน ๆ ที่มาคุยกันในที่นี้ ก็มีกันพอสมควร

และสถานการณ์ตอนนี้ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ หรือมาตรวัดที่ตรงซะด้วยว่า ระหว่างคนที่เห็นด้วยกับพรก. กับคนที่ค้าน ใครจะเป็นพวกมองเห็นโลก หรือแก้ไขตามสถานการณ์ไม่ปกตินี้ กว่ากัน

ปัญหามันอาจจะเป็นอย่างนี้ี้ก็ได้ คือ ทุกคนมองเห็นสถานการณ์เหมือนกัน เข้าใจภาวะไม่ปกติเหมือน ๆ กัน (ใครไม่เข้าใจสถานการณ์ตอนนี้ก็แย่แล้วครับ) แต่กลับมองเห็นมุมแก้ไปคนละอย่าง
ฝ่ายที่เห็นด้วย มองว่า เปลี่ยนเครื่องมือ แต่ ฝ่ายที่ค้าน ดูสถานการณ์แล้ว ให้เปลี่ยนตั้งแต่ แนวทาง ไม่ใช่ แค่เครื่องมือ แต่หัวสมอง ยังติดอยู่แน่นกับ แนวทาง และวิธีการเดิม ๆ เพราะอย่างนั้น ต่อให้ตีกันให้ตาย มันก็แก้ไม่ได้

ผมไม่เห็นฝ่ายที่ค้าน เขาเร่งรัดในผลสักคน ว่าเฮ้ยมันต้องได้ผลเร็ว ผมเห็นมีแต่ พวกใช้กำลังเท่านั้นที่เร่งเอา ๆ กับแนวทางอื่น ๆ (ไม่เฉพาะแต่สันติ) นั่นมิใช่เพราะ คนพวกหลักนี้ อาจมองเห็นความเป็นจริงของโลกก็จริง แต่ภาพมันพร่ามัว เพราะหัวสมองไปติดอยู่กับ วิธีการรุนแรง หรือ แนวทางเดียวหรือเปล่า ??? เอ้า แถมเที่ยวไปบอกให้ คนอื่น ๆ ที่โดนผล โดนละเมิด ต้องยอม ๆ เพราะเป็น ธรรมดาโลก ไปอีกด้วย เหอ ๆ ๆ อย่างนี้ สงสัยต้อง งัดเอาคำกล่าวที่ เขาเคย ๆ ใช้ ๆ ถามกันแล้วล่ะ ว่า ก็ถ้าว่า ไอ้คนที่โดนละเมิด มันคือ คุณ หรือครอบครัวล่ะ แม้มันจะเป็นธรรมดาโลกที่มีฝ่ายชนะ ก็ต้องมีฝ่ายสูญเสีย เกิด แก่ เจ็บตาย เป็นของคู่กัน แต่ คุณจะยังมองว่า วิถีทางไม่ปกติ ที่แก้ไขสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ ยังปกติ ดีอยู่หรือเปล่า ??? (ทั้ง ๆ ที่มันน่าจะมีวิถีทาง หรือแนวทางไม่ปกติ อื่น ๆ ที่แก้ไขไอ้สถานการณ์ไม่ปกตินี้ ได้เหมือนกัน หรือไม่แน่นะ อาจดีกว่า) แต่ง ๆ ๆ ๆ ๆ

12:06 PM

 
Anonymous Anonymous said...

อ้อ....ผมเป็นนักกฎหมายครับ แม้ตอนนี้จะไม่ใช่นักบวช แต่จริง ๆ อยากจะเป็นอยู่เหมือนกัน เพราะชักเซ็ง ๆ กับ สังคมที่ชักจะเริ่ม "แพ้ภูมิ" (รู้) ของบรรดา นักรู้ทั้งหลาย จนมันยุ่งเหยิงวุ่นวายกันไปหมด

กฎหมายไม่ใช่ตัวศีลธรรม ทั้งหมดหรอกครับ มันแค่มีบางอย่างที่มีจุดเชื่อมกัน บางทีก็มีพื้นฐานมาจากศีลธรรม แต่บางทีก็มีเพื่อดำรงไว้ซึ่ง "ศีลธรรมตามธรรมชาติ" ดังนั้นคนเขียน คนร่าง คนใช้ ถ้าจะให้ดีมันก็ต้องมี หรืออย่างน้อย มันก็ต้องเข้าใจ ศีลธรรม กันบ้าง

ปัญหาตอนนี้ เลยไม่ได้อยู่ที่ กฎหมาย ไม่ดี แต่มนุษย์ไม่ดี เป็นคนกำหนด และใช้มันอยู่ต่างหาก (อ๊ะ ไม่เถียงดีกว่า ว่า ไอ้กฎหมายไม่ดี ที่ถูกร่างขึ้นจากคนไม่ดี มันก็ยังมีใช้บังคับกันอยู่นิ)

นอกจากคนกำหนด คนใช้ น่าจะต้องมีศีลธรรมอยู่บ้างแล้ว คนถูกใช้ก็ต้องเข้าใจบ้างด้วย เพราะถ้าไม่เข้าใจ สายตาที่มองกฎหมายบางอย่างมันก็แย่ไป หรือมองไม่เห็นความเชื่อมโยงของบัญญัติธรรมกับ ศีลธรรม จริยธรรม ด้วยเช่นกัน เช่น หากมองว่า ผู้หญิงทำแท้ง ไม่เบียดเบียนใคร แล้วไอ้ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เธอจงใจสร้างขึ้นมาเองล่ะ ใครกันที่ไปเบียดเบียนมัน ?? เป็นต้น

ผมไม่ได้ บอกว่า ผมเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย กับเรื่องนี้ เพียงแต่ มันมีเหลี่ยมมุม ที่ถกเถียงกันได้ และ...มันก็ไม่มีคำตอบที่น่าจะถูกต้องที่สุดเสียด้วย เพราะมันขึ้นอยู่กับมุมมองทั้งที่มีต่อโลก และตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ผมเกลียดนักกฎหมายหัวสี่เหลี่ยม (จะหน้าเหลี่ยมด้วยเหรือไม่ ไมสำคัญ) ที่คอยแต่จะอ้างกฎ อ้างเกณฑ์มันไปตะพึดตะพือ แต่ผมก็ใช่จะนิยมยินดีกับพวกปฏิเสธกฎหมายมันไปเสียทุกเรื่อง หรือ อย่างน้อย ก็เรื่องที่ตัวเองไม่ชอบ โดยอ้าง ความเป็นปัจเจกชน เพราะถ้าทุกคนคิดแบบนี้ โลกนี้คงไม่มีแบบแผนทีควรจะเป็น

หากถามว่า "ควรจะเป็น" คือ อะไร ตรงไหน และของใคร คงเป็นปัญหาโลกแตกที่ตอบไม่ได้ง่าย ๆ แต่ ถ้าลองทำใจเป็นกลาง แล้วคิดดี ๆ คุณก็จะเจอ แบบแผนที่ควรจะเป็นร่วมกันของทุก ๆ สังคม เพราะเรื่องบางเรื่อง เหตุการณ์บางเหตุการณ์ มันอาจมีเหตุและปัจจัยร่วมกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า แบบแผนที่ควรจะเป็น มันก็คือ เรื่อง ของสัจจธรรม ความจริง ซึ่งเป็นเรื่องของเหตุและปัจจัย นั่นแหละครับ

ศีลธรรมจริยธรรม เป็นเรื่องของ "คุณค่า" คือ เป็นเรื่องของความดีความชั่ว เมื่อมันเป็นเรื่องพวกนี้ บางคนเลยพูดทำนองว่า ความดีความชั่วเป็นเรื่องของสังคมมนุษย์ บัญญัติกันขึ้นมาเอง คล้าย ๆ ว่า กันเอาตามใจชอบ หมายความว่า มนุษยอยากจะว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี ก็ว่ากันไป บัญญัติกันไป สังคมนี้ว่าดี แต่อีกสังคมบอกว่าไม่ดี เลยกลายเป็นว่า โลกนี้มันไม่มีดี มีชั่ว ไม่มีควร ไม่มีไม่ควรจะเป็น

แต่เอาเข้าจริง คนที่เข้าใจอย่างนี้ อาจแสดงว่า ยังมองความจริงในกระบวนการของเหตุปัจจัยไม่ออก จุดสำคัญ คือ

1. แยกไม่ออกระหว่างจริยธรรม กับบัญญัติธรรม บัญญัติธรรมคือสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น จริยธรรมคือ ตัวความประพฤติที่ดี ทีควร ซึ่งเป็นเรื่องของความดี ความชั่ว

2. มองไม่เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากสัจจธรรมสู่จริยธรรม เพราะจริยธรรมนั้น ต้องโยงลึกลงไปอีก คือ โยงไปหาสัจจธรรมอีกทีหนึ่งในกระบวนการของเหตุปัจจัยทั้งหมด

ตัวที่เกี่ยวข้อง ยึดโยงกัน มันเลยมีอยู่ 3 ตัว คือ สัจจธรรม จริยธรรม และบัญญัติธรรม ซึ่งกระบวนการในเรื่องนี้ มันต่อเนื่องสัมพันธ์กันเป็นระบบ

จากความดี ความชั่ว ที่เป็นตัวภาวะซึ่งเป็นความจริง เป็นสภาวะในฝ่าย สัจจธรรม โยงออกมาเป็นความประพฤติดีชั่ว ที่เรียกว่า จริยธรรม แล้วจึงโยงต่อมาหากกฎเกณฑ์ที่ชุมชน
และสังคมกำหนดวางขึ้นเป็นแนวทางให้เกิดความมั่นใจว่า คนจะประพฤติดีมีจริยธรรม ซึ่งเรียกว่า บัญญัติธรรม

บัญญัติธรรม หรือวินัย กฎหมายเป็นข้อบังคับ ที่ดูเหมือนว่า ทำได้ตามใจชอบ ตามพอใจ เช่น สังคมไหน เห็นอย่างไรก็บัญญัติกันอย่างนั้น แต่ที่จริง บัญญัตินั้นก็ไม่ใช่เป็นเพียงการว่าเอาตามใจชอบ เพราะมันมีอะไรอยู่เบื้องหลัง ในการที่เราจะบัญญัติอย่างนั้น เช่น เมืองไทย บัญญัติว่า รถวิ่งชิดซ้าย ในขณะที่รถต้องวิ่งชิดขวาที่อเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมแต่ละสังคม จะบอกใครดี ใครชั่วมันก็คงไม่ได้ เพราะนี่เป็นชั้นของบัญญัติธรรม

แต่พอลงไปที่ชั้น จริยธรรม ทั้งสองประเทศ กลับยึดโยงอยู่ที่จุดเดียวกันเบื้องหลังคือ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่เกื้อกูลต่อการอยู่ร่วมกัน เอื้อต่อสันติสุขของสังคมมนุษย์ นั่นเอง ดังนั้น แม้จะบัญญัติต่างกัน แต่ตัวจริยธรรม กลับเป็นเรื่องเดียวกัน

แน่นอน อันนี้มีเหมือนกัน กรณีที่บัญญัตินั้นถูกบัญญัติเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มเดียว ซึ่งต้องบอกว่า มีการทุจริตเกิดขึ้นในกระบวนการบัญญัติธรรม ซึ่งย่อมพลอยให้จริยธรรมไม่ได้ผลไปด้วย แต่ก็มีสังคมไม่น้อย ที่วางกฎ ระเบียบ กฎหมาย หรือวินัยโดยบริสุทธิ์ เพื่อต้องการผลทางด้านจริยธรรม

บัญญัติของสังคมนั้น เพราะเหตุที่มนุษย์มีสติปัญญาไม่เท่ากัน มีเจนที่สุจริต ไม่สุจริตไม่เท่ากัน พื้นเพภูมิหลังไม่เหมือนกัน เมื่อมีตัวแปรมาก มันก็ย่อมทำให้ผลในทางที่จะเป็นหลักประกันจริยธรรมต่างกันไป บัญญัติธรรมจึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและกาละเทศะด้วย

วิธีมองที่ถูกต้อง แม้ว่า บัญญัติธรรมจะต่างกันไปอย่างไร นั่นก็คือ ความเพียรพยายามของมนุษย์ที่จะเข้าถึงความดีงามแท้ที่เป็นจริยธรรม
บัญญัติธรรมจึงไม่ใช่ตัวสำเร็จ สิ่งที่มนุษยได้พยายามบัญญัติกันขึ้นมานั้น เป็นความเพียรพยายามที่จะเข้าถึงจริยธรรมมากบ้างน้อยบ้าง ได้ผลมากน้อยตามสติปัญญา และเจตนาที่สุจริต หรือทุจริตเป็นต้นของมนุษย์ในกาละเทศะนั้น ๆ

ถ้ามองแบบนี้เสียแล้ว เราก็จะมองภาพของความจริงไปอีกอย่างหนึ่ง คือ เราจะไม่มาหลงว่าความดี ความชั่ว เป็น เรื่องที่สังคมบัญญัติกันเอาเองตามชอบใจ พร้อมกันนั้น การที่เราวางบัญญัติธรรมขึ้นมา แล้วจะได้ผลให้เกิดจริยธรรมได้จริงแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับจริยธรรมของคนที่วางบัญญัติธรรมนั้น เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งด้วย

ปัญหาต่อมาที่ว่า จริยธรรม เป็นจริง หรือไม่ ก็ต้องโยงต่อไปอีกว่า จริยธรรมต้องมีสัจจธรรมเป็นฐาน คือ ต้องสอดคล้องกับกระบวนการของเหตุปัจจัย ด้วยจึงจะถูกต้อง ดังนั้น การจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ จึงต้องเข้าใจ กฎธรรมชาติ ที่มีความเป็นไปตามเหตุและปัจจัย

หากเราเอาเรื่องนี้มาจับกับ พระราชกำหนด ฯ ตอนนี้ดูบ้าง บางคนก็อาจบอกว่า มันมีเหตุและปััจจัยเป็นแบบหนึ่ง ที่จำเป็นที่รัฐ ต้องมีบทบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นมา เพื่อยังผลให้เกิด จริยธรรม (ในที่นี้ คือ ความมีระเบียบเรียบร้อยในสังคม) ดังนั้น อาจมองได้ว่า ผู้ร่างกฎหมายตัวนี้ ก็มีเป้าหมายอยู่ที่จริยธรรมเหมือนกัน เพียงแต่ อย่างที่บอกแล้วว่า ผลทีได้จะเป็นจริยธรรมมากน้อย ก็ต้องขึ้นอยู่กับ ผู้่ร่าง ความรู้ กาละเทศะ แลที่สำคัญ เจตนาที่สุจริต หรือไม่สุจริต

เหตุผลของฝ่ายสนับสนุน ดูเหมือนจะไม่ค่อยชัดเจนในเรื่องความเชื่อมโยงทางจริยธรรมนัก แต่ที่ต้องการ เพราะกำลังเบื่อหน่าย ระอา กับการแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ เลยคิดว่า ถ้ามีอะไรขึ้นมาใหม่ อาจทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และมองว่า ผู้ใช้กฎหมายน่าจะอยู่ในกรอบ หรือมีจริยธรรมพอ

โดยอาจไม่ได้เห็นสัจจธรรมความจริงก็ได้ว่า เหตุและปัจจัยทีทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวาย ไม่อาจแก้ไขให้เกิดจริยธรรม (ความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้) โดยวิธีการ หรือแนวทาง แห่งอำนาจดังกล่าว (แต่ดันไปมองโลก หรือสัจจธรรมที่ว่า ความสูญเสียในการแก้ไข ย่อมต้องมีเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งก็เป็นความจริงเหมือนกัน แต่อาจไม่ใช่ชุดความจริง หรือสุจจธรรมที่แก้ปัญหาได้) และมุ่งมองที่จริยธรรมเพียงข้อเดียว คือ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม โดยมองข้าม จริยธรรมข้ออื่น ๆ ไป เช่น การเคารพในสิทธิ ร่างกาย ทรัพย์สิน ฯลฯ ของคนอื่น

ในขณะที่ ฝ่ายที่ค้าน พรก. หาความเชื่อมโยงได้ว่า ผู้ร่าง มีเจตนาที่ไม่ค่อยสุจริตนัก ในการบัญญัติ เนื่องเพราะมีข้อกำหนดหลายตัว ที่แทนที่จะ นำมาซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือความสงบ กลับจะยังผลในทางตรงกันข้ามแทน
แต่ที่สุดแล้ววิธีคิดของฝ่ายนี้ ก็ย่อมมีเป้าหมายอยู่ที่ จริยธรรม (ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม) เหมือนกับฝ่ายแรกเหมือนกัน เพียงแต่ หวังจริยธรรมที่มากไปกว่านั้นด้วย คือ จริยธรรม ที่ผู้คนในสังคม ไม่ละเมิดสิทธิในชีิวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินซึ่งกันและกัน

ปัญหาตอนนี้ก็คือ คุณจะเข้าข้าง หรือเห็นด้วยกับฝ่ายไหนล่ะครับ ??

2:02 PM

 
Anonymous Anonymous said...

น้อมรับคำชี้แนะจากพี่บุญชิตฯ
สำหรับผม ก็เห็นว่าป. ป. เองไม่Fairกับนักการเมืองพรรคไทยรักไทย ขนาดของใจใช่ว่าจะกว้างเมื่อเทียบกับผม ออกจะแคบเสียด้วยซ้ำ รังสรรค์บอกว่า มายาคติข้อที่10 ว่าทักษิณไม่มีอะไรดีเลยมาจากคำแนะนำของ ป.ป คนอย่างนี้ ขนาดใจก็ไม่ได้กว้างไปกว่าพลพรรคปชป. หรอก ว่าไปแล้วมีผมคนเดียวมั๊งที่Fairกับทุกพรรค ด่าได้ทุกพรรค ด่าได้เสมอหน้ากัน

สำหรับคุณ นรินาม ขอโทษ จริงๆที่ผมจะบอกว่าชีวิตผมเจอคนดีแต่ปาก มาเยอะแล้ว โดยเฉพาะคนไทยปากดีเป็นพิเศษ แต่ครั้นให้ลงมือทำบ้าง กลับแหยงๆ และมาเสวยสุขผลการกระทำของคนอื่น ด่าทอคนที่กระทำให้อีก คนแบบนี้ผมไม่ให้ค่าเท่าไหร่นัก และไม่อยากเสวนาด้วย ทางใครทางมันครับ

พี่พล พี่เหนื่อยเปล่า เหมือนผม อย่าเรียกร้องให้คนพวกนี้ลงมือทำเลย อ่านความเห็นมา 2บล็อกทั้ง ป.ป และ บล็อกของน้องต้อง ดีแต่ปากกันทั้งนั้น

3:29 PM

 
Blogger ratioscripta said...

ขอบคุณคุณนิรนาม ที่ชี้ทางให้ชัดเจน ว่าผมควรเริ่มต้นอย่างไร

และทำให้ผมต้องหยิบ "นิติศาสตร์แนวพุทธ" มาอ่านและตีความอีกครั้ง กว่าจะได้ผลึกอย่างคุณ

ระหว่าง "สัจจะ" กับ "สมมติ" เชื่อมโยง และสอดคล้องกันอย่างไร

ไม่ใช่เลื่อนลอยไร้สาระ แบบสรรหาคำพูดสวยหรู ดูโก้ แค่นั้น แต่คำเชิงคุณค่าเหล่านั้นใช้ได้จริงแม้แต่วิชาที่ดูแข็งกระด้างอย่างกฎหมาย

จะพยายามอีกครั้งครับ

พี่ๆครับ ขอบคุณที่ทำให้บล็อกของผม มีคอมเมนต์ทะลุไปเกือบสามสิบ และแต่ละความเห็น ผมคงมีโอกาสได้กลับมาอ่านอีกหลายๆๆๆๆๆ รอบ

อ่านจนกว่าผมจะแก่ตายนั่นแหล่ะครับ ซึ่งคาดว่าจะอีกนาน นานพอที่จะได้เห็นดอกผลจากการถกเถียงครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายนี้ หรือ แนวนิติปรัชญา การให้ค่าและนิยามกฎหมายก็ตาม

รวมทั้งวิธีคิด ความคิดของพี่ๆเพื่อนๆ ที่หล่นความเห็นไว้ทุกท่านด้วย กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ และเย้าใจให้ผมตั้งหน้าตั้งตารอคอย ที่จะเห็นสิ่งเหล่านั้นจริงๆ

พี่ปริเยศครับ ผมน้อมรับในสิ่งที่พี่สั่งสอนในฐานะพี่สอนน้อง ผู้ใหญ่สอนเด็ก และ ผู้มีประสบการณ์สอนผู้ด้อย ขอบคุณพี่มากครับ และผมจะติดตาม รอยทางของพี่ต่อไป เผื่อวันไหนผมเจอสถานการณ์คล้ายกับที่พี่เจอผมจะได้รู้ว่าผมควรคิดและควรรับมันอย่างไร

มาลองดูกันดีกว่าครับ ว่าในอนาคตอันสั้นและยาวอันไร้กำหนด ใครจะ "ทำ" อะไร ได้มากกว่ากัน

และ

"ทำเพื่อใคร"

7:18 PM

 
Anonymous Anonymous said...

สวัสดีครับทุกท่าน

เหอ ๆ ๆ ๆ ที่สุดแล้ว ผมก็ไม่ทราบนะครับ ว่า ใครในที่นี้ "แคบ" ที่สุด ถึง "แคบมาก" ชนิดอาจเข้าขั้นวิกฤต ผมเห็นว่า แต่ละคนก่อนหน้านี้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น เขาก็แสดงกันด้วยดี มิได้ ดูถูกใคร หรือ มีเป้าหมายให้ใครต้องเชื่อความคิดเห็น

เป็นการถกเถียงกัน โดยเอาเหตุผล และมุมมองของแต่ละคนมาโต้แย้ง เท่านั้น คนที่จ้องคอยจะให้คนอื่น เขาต้องฟังฝ่ายตัวเองต่างหาก ที่น่าจะมีปัญหา ด้าน แนวคิด และไม่น่า "เสวนา" ด้วย อย่างแรง ๆ

เรียนคุณปริเยศ ผมไม่อาจทราบได้หรอกครับว่า คุณจะรู้มาก และไม่ใช่แค่ดีแต่ปากมาจากไหน แต่ที่แน่ ๆ ก็คงมีการชื่นชมกันในสังคมนี้ กันพอสมควร ถึงได้มีวิธีคิด ทีค่อนข้างดูแคลน บุคคลอื่นได้ง่าย ๆ แบบนี้ ผมคิดว่า จริง ๆ คุณอาจไม่ใช่ ฝ่ายเดียวที่ไม่อยากเสวนากับผม เพราะผมคนหนึ่งแหละที่เห็นว่า คุณมีมารยาทไม่ค่อยเข้าท่านัก กับการแสดงความคิดเห็นที่ ต่อว่า ต่อขานคนอื่นเขา

ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว คุณไม่ทราบด้วยว่า อีกฝ่ายเขาเป็นใคร แล้วมีอะไรมารับประกันว่า คุณจะรู้มากกว่า (ฮะแฮ่ม...นี่ผมไม่ใช่พยายามยกตัวเอง ว่าเหนือกว่าคุณ มิกล้าครับ และไม่มีประโยชน์ด้วย) ผมอาจมีอะไรที่เหนือกว่าคุณอยู่หนึ่งอย่าง ในขณะที่คุณมีอะไรที่เหนือผมอยู่หนึ่งอย่าง คุณพลมีอยู๋หนึ่งอย่าง คุณต้องเจ้าของบล็อกมีอยู่หนึ่งอย่าง

ถ้าใครต่อใคร คิดแค่ว่า คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวคุณเอง มีอะไรที่เหนือกว่าเรา หรือรู้มากกว่าเราอยู่หนึ่งอย่าง สมอง และวิธีคิด คงพัฒนาไปไกลกว่านี้...ไม่ใช่ ปากก็ "คอยยัดเยียดความคิดเห็นของตัว" ให้กับคนอื่น แถมชี้หน้าด้วยว่า "เฮ้ย ต้องเชื่อ อย่าเสียเวลาคุยกับมัน มันไม่เชื่อเรา" แต่ในขณะที่ เที่ยวไปเขียนบอกใครต่อใครว่า ตัวเองเป็น "คนรับความแตกต่างของคนอื่น ๆ" หรือ "เบื่อ คนภูมิแพ้ความคิดเห็นที่แตกต่าง" ทั้ง ๆ ที่ตัวเอง มีสิ่งนี้ มากอักโขเลยยยย เอาน่า ไม่ว่ากัน ยังไง ก็น่าจะลองหาวิธีแก้ไขดูนะครับ โรคนี้ ไม่ดีหรอก อิ อิ อิ อิ

1:45 AM

 
Anonymous Anonymous said...

คุณนิรนาม

ผมเขียนตรงๆ อย่างนี้แหละ ครับ เขียนไปตามนั้น ตรงไปตรงมาตามความรู้สึกตัวเอง ไม่ต้องสร้างภาพ สร้างความนิยม สร้างคะแนนเสียง คนไหน ผมคิดว่าฉลาดปราดเปรื่อง ก็ต้องชมไป ซึ่งคนที่ชมไม่เคยมีใครสักคนที่เห็นด้วยกับผม แต่ผมคิดว่าเขาฉลาดปราดเปรื่อง ก็ต้องแสดงความนับถือในสติปํญญา ซึ่งถ้าคุณเคยอ่านบล็อกผม อ่านความเห็นจากบล็อกคนอื่นๆ จะเห็นว่าผมชมคนโน้นคนนี้ปราดเปรื่องไปทั่ว แต่ถ้าสิ่งที่ผมเขียนพาดพิงถึงคุณ มันตรงเกินไป ผมก็ไม่รู้ทำอย่างไร อยากให้คุณคิดเสียว่า ความจริงเป็นพิษน้อยที่สุดแล้วกัน


ผมเป็นคนอย่างนี้แหละครับ คนอื่นเขาคุ้นเคยผมหมดแล้ว มีคุณแปลกหน้าเข้ามา ถือว่ารู้จักกันไว้แล้วกัน ถ้าผมมีเวลา ไว้จะมาเขียนตอบความเห็นคุณ โดยเฉพาะเรื่อง means และ ends ที่คุณเขียนไว้เป็นปฏิกริยาต่อความเห็นผม เพื่อจะได้ขยายประเด็นไปเรื่องอื่นๆด้วย ที่พ้นไปจากพรมแดนนิติศาสตร์ และจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองกัน

ท้ายสุด ผมจะบอกคุณว่า ผมเป็นของหายากนะเฟ้ย สำหรับโลกแห่งการถกเถียงในอินเตอร์เนท จะมีใครที่มีมุมมองที่ขัดใจ พวกนักวิชาการ-นักคิดบนหอคอยงาช้างแบบไทยๆ เท่ากับ คนแบบผม

ยินดีทีได้รู้จักแล้วกัน

3:07 AM

 
Anonymous Anonymous said...

ขอโทษครับคุณปริเยศ คุณจะเป็นคนหายากมาจากไป ผมไม่อาจทราบเกล้าได้ แต่ถ้า หายากแล้วหยิ่งผยองแบบนี้ ยังไงผมว่า ก็ไม่เป็นสิ่งมีค่า หรือสิ่งที่ควรค้นหาอยู่ดี 55555

สำหรับเรื่องใครจะชมใคร ก็ไม่ใช่ประเด็นว่า ชมแล้วจะต้องเรอเลิศเพอเฟกซ์ คนชมอาจชมไปงั้น ๆ หรือชมด้วยใจจริงก็สุดจะคาดเดา และปัญหาที่ว่า ใครเป็นคนชม ยิ่งไม่สำคัญกันเข้าไปใหญ่ แลไม่เห็นประโยชน์อันใดจะต้องเชิดชูตัวเอง หรือยินดีปรีดาอะไรมากมาย

สำหรับผมแล้ว คนอายุไม่มาก ที่ผ่านโลกมาไม่นาน แต่คิดอยู่เสมอว่า ยังมีอะไรต้องค้นหาสืบเสาะ น่าสนใจกว่า พวกที่ผ่านโลกมาแค่ 27 ปี แต่คิดว่า ตนเองเป็นสุดยอดมนุษย์ เหมือนเจอโลกมาแล้วสัก 60 ปี จนคิดว่าเหนือหรือมีดีกว่าคนอื่น ๆ เพียงเพราะหลงไปว่าตนเองเป็นผู้รู้ มีฝีมือ ก็ผมบอกแล้วว่า "ปัญญาไม่เคยเกิดจากการตำหนิติเตียนคนอื่น"

อืม...ผมไม่ค่อยยินดีนะ ที่รู้จักคุณ เหอ ๆ ๆ ๆ

3:26 AM

 
Anonymous Anonymous said...

อ้อ...อีกอย่าง ขอโทษที ถ้าคิดว่า แต่ละคนที่เข้ามา ควรไปไล่ทำความเคารพ หรือรู้จักกันให้หมดเสียก่อน หรือไม่ก็ไปหาอ่านดูความเลิศเลอเพอเฟก
บรรดาบล็อกเกอร์ก่อนที่จะ
เสนอหน้าเข้ามาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตัวเองสนใจ
ด้วยล่ะก็ คนคิดแบบนี้ค่อนข้างไม่ได้เรื่องนะ (อืม ขออภัย นี่ก็เป็นถ้อยคำตรง ๆ ที่ผมมักกล่าวกับอะไรที่ผมเห็นว่าไม่ค่อยได้เรื่องเหมือนกัน)

การแสดงความคิดเห็นของผม ใครจะคิดว่าอะไร ไม่เห็นน่าจะต้องใส่ใจ ถ้าในเมื่อผมก็มีมุมของผม ท่านใดจะมีมุมอะไรก็เชิญว่ากันตามสบาย อย่างน้อย ๆ ผมก็ไม่เคยอยากให้ใครหน้าไหน ต้องเชื่อ ต้องฟัง หรือถึงกับสาปไสเสือกส่ง

อ้อ..อะฮะ คำพูดตรง ๆ ที่คุณพูด ผมไม่ได้เกิดความเจ็บช้ำ น้ำตาเล็ดอะไรเลยครับ เพราะมันก็เป็นมุมมองของคุณที่มีต่อความคิดเห็นของผม ธรรมดาจะตาย ส่วนไอ้้เรื่องความเห็นของผมต่อจากนั้น อ๊ะ..นั่นก็เป็นความคิดเห็นของผมที่มอง การแสดงความคิดเห็นของคุณเหมือนกัน ส่วนมันจะพิษ หรือไม่ คุณจะน้องรับไป ว่า "เฮ้ย ผมก็เป็นแบบนี้แหละ" เอ้า นั่นมันก็เรื่องของคุณ ผมเองไม่ได้ อยากจะวิสาสะกับคุณด้วยเรื่องไร้แก่นสาร แบบนั้นด้วยครับ แต่ที่พูดไป เป็นเรื่อง ความหยิ่งผยอง ของใคร และของอะไรต่างหาก ส่วนจะรับหรือไม่รับ ก็ตามแต่..ไม่ใช่ปัญหาคร๊าบบบบ

3:38 AM

 
Anonymous Anonymous said...

ถือว่า ผมถอนประโยคยินดีทีได้รู้จักไปแล้วกันครับ

ถ้ารับที่ผมเขียนตรงๆไม่ได้ ไม่ต้องเขียนย้ำไปถึง 2ความเห็นหรอกครับ เปลืองเนื้อที่ เปลืองทรัพยากร เราคงเสวนาด้วยกันไม่ได้จริงๆ ถือเสียว่าผมพลาดเองที่ไปใส่ใจกับความเห็นคุณ

ซึ่งจริงๆอ่านความเห็นคุณ ก็รู้สึกอย่างที่เขียนตอนแรกจริงๆว่า ทางใครทางมันครับ ผมเองไม่เสวนากับคนแบบนี้เช่นกัน และอยากทิ้งท้ายครับ ว่าผมเองชอบอ่านความคิดเห็นที่แตกต่าง และผมเลือกอ่านความเห็นที่ต่างเช่นกัน ความเห็นแตกต่างอย่างโง่ๆ ผมไม่สนใจหรอกครับ เวลาผมไม่ค่อยมี

ยิ่งอ่านความเห็นคุณช่วงหลังๆที่มีต่อผม และมาอ่านความเห็นคุณที่แสดงในช่วงแรกๆต่อประเด็นในหัวข้อนี้ ดูภาษาที่ใช้ ลำดับประโยค และตรรกะ ยิ่งยืนยันความคิดในวรรคบนของผมจริงๆ

10:19 AM

 
Anonymous Anonymous said...

มันก็ไม่ค่อยต่างกันนักหรอก ไอ้ความคิดเห็นที่มีต่อกันเนี่ย 555555 เพียงแต่ ผมคิดว่า ไม่ได้แสดงความผยองจนเกินเหตุ เที่ยวตำหนิติเตียน หัวสมองของคนอื่น ๆ ให้ใครเห็นก็แล้วกัน หุ ๆ ๆ

12:48 AM

 
Anonymous Anonymous said...

อ้าว สรุปที่ ตอนแรก ๆ คุณปริเยศ ไปด่าเขาปาว ๆ ๆ นี่ คุณปริเยศ ไม่ได้อ่านความคิดเห็นของเขามาก่อนเหรอคะ ???? ถึงบอกว่า "กลับไปอ่าน" น่ะค่ะ ดิฉันว่าไม่ถูกต้องนะคะ

ถ้าไม่ได้อ่านก็ไม่เห็นน่าจะต้องไปว่าเขาก่อนเลยนี่นา ???? อีกอย่าง ไม่เห็นคุณตอบประเด็นที่คุณนิรนามเขาโต้ได้สักอย่างนะคะ งงจังง่ะ

1:01 AM

 
Anonymous Anonymous said...

ผมว่าการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชกำหนดที่นี่ น่าอ่าน และสนุกกว่าหลาย ๆ ที่ครับ ที่อื่น ๆ มีแต่ด่ากันไปด่ากันมา ไม่เห็นมีใครยกเหตุผลอะไรเลย

ผมจบเตรียมทหาร ตอนนี้เป็นทหาร แต่่เคยเรียนกฎหมายครับ แม้ผมเป็นทหารแต่ผมก็็ไม่เห็นด้วยกับพระราชกำหนด
ฉบับนี้นะ เหตุผลเหมือน ๆ กับท่าน ๆ ที่เรียนกฎหมายข้างบน ไม่รู้สิผมเป็น ทหารนอกคอกมั้งครับ แต่ผมไม่บอกพวกคุณ หรอกว่า ผมเหล่าไหน เพราะเขาห้ามวิจารณ์ทหารด้วยกันน่ะครับ

สนุกดีว่าง ๆ จะตามมาอ่านอีก ขอบคุณคุณ Ratioscripta ด้วยที่มีอะไรดี ๆ มาให้อ่าน

แต่คุณปริเยศอะไรนี่ ผมว่า เขาเหมือน นายก ฯ รุ่นพี่ผมเลย คือ ชอบว่าคนอื่นโง่ แต่ไม่รู้ว่าพี่แกฉลาดขนาดไหน มุมมองของเขาผมก็ว่าธรรมดานะ ไม่เห็นต่างจากคนอื่น ๆ เลย

1:45 AM

 
Anonymous Anonymous said...

"เมืองไทยเราขณะนี้ ต้องการทั้งคนคิด และคนทำงานครับ และดูเหมือนว่า “นักคิดบนหอคอยงาช้าง” มันจะมากเกินไป ผมว่า ถ้าเรามาช่วยกันทำบ้าง ก็คงจะดีครับ

ท่านที่คัดค้าน หรือ มีข้อเสนอแนะใด ๆ ก็ลองไปทำเองเลยครับ ถ้าเป็นอาจารย์ ก็ลองไปสอนนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ รวมถึง พวกผู้ก่อการร้าย ให้กลับตัวกลับใจมาร่วมกันพัฒนาชาติไทย ตามแนวทางสมานฉันท์ครับ ไม่ต้องรอรัฐบาลหรอกครับ

ท่านก็จะได้พิสูจน์ตัวเองด้วยว่า ท่านไม่ได้ดีแต่ปาก และแนวทางของท่าน “ถูกต้อง” ครับ"

9:03 AM

 
Anonymous Anonymous said...

เบื่อ ประเด็น "ดีแต่ปาก" แล้วไอ้คนว่าเขาเนี่ย รู้ได้ไงเล่า ว่าเขาดีแต่ปาก ตอนนี้เขาอาจทำอะไรมากกว่า คนที่ว่าคนอื่น ว่า "ดีแต่ปาก" ก็ได้

คิดอะไรไม่ออก ก็ได้อยู่ประเด็นดียว คือ ดีแต่ปาก นับว่า "ปราดเปรื่่อง" มากทีเดียว ชื้นช้ม ชื่นชม

จากการอ่าน ประเด็นนี้ที่นี้ ได้ข้อสรุปว่า

ใครก็ตาม ที่เข้ามาเขียน แสดงความคิดเห็น เจ้าข้าเอ๋ย คนเหล่านั้น คือ ดีแต่ปาก ไม่มี้ ไม่มีนะครับ ไอ้ที่ ทำงานอะไรสักอย่างอยู่ อาจจะเพื่อสังคมอยู่ หรืออาจจะกำลังแก้ไข ความงี่เง่าของสังคมอยู่
ไม่มีเด็ดขาดครับ ที่คนพวกนั้น จะเสียเวลา และเปลืองสมองมา แสดงความคิดเห็น หรือไม่ก็มาเป็น "บล็อกเกอร์"

แสดงว่า คนไทย เขาตัดสิน คนกันที่ ไอ้แค่การแสดงความคิดเห็นครับ

โอ้ พระเจ้ายอด มันจอร์ดดดดด มากกกก

2:51 PM

 
Blogger ratioscripta said...

ใจเย็นๆ ร่มๆ กันครับพี่ๆ (วิสาสะเลยว่าเด็กกว่า...ซะงั้น)

ผมว่าแม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่ก็คงอยู่บนพื้นฐานเดียวกันมั๊งครับ

ทุกคนหวังใจจะให้ประเทศชาติบ้านเมืองเรา อยู่ในภาวะปกติ ซึ่งหมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และมีเหตุการณ์ไม่สงบ น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพียงแต่เราอาจจะมีมุมมองต่อสถานการณ์และการแก้ปัญหาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่แตกต่างกัน

แต่ไม่ใช่ว่าพื้นฐานที่แตกต่างกันนี้ อยู่กันคนละผืนแผ่นดิน หรือ ยืนอยู่บนโลกนะครับ ผมมองว่ามันก็อีแผ่นเดียวกัน อีพื้นเดียวกันนี่แหล่ะ และผมไม่เชื่อว่ามันจะประสานกันไม่ได้

เพื่อนผมมันบอกว่า อ่านๆดูแล้ว ที่เราเหมือนลงกันไม่ได้ ก็เพราะมองกันคนละเหลี่ยมมุม (จริงๆเพื่อนผมมันใช้สำบัดสำนวนที่ว่า "สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พร่างพราย" แต่ผมไม่อยากใช้ครับ เพราะผมไม่อยากตัดสินว่า อะไรคือ "โคลนตม" และ อะไรคือ "ดาวที่พร่างพราย") เมื่อมองกันคนละเหลี่ยมมุมแล้ว ก็ยากที่จะได้ภาพที่เหมือนกัน

ใครจะมองจากมุมไหน มุมประสบการณ์ มุมสถานการณ์ (ซึ่งผมก็คงตั้งคำถามว่า ณ นาทีนี้ใครเป็นผู้รู้สถานการณ์ที่ดีที่สุด ถูกที่สุด อยู่ดี) มุมความจำเป็น มุมการปราบปรามอาชญากรรม หรือใครจะมองในมุมแห่งความไม่ไว้วางใจในอำนาจที่ไร้การตรวจสอบ ไม่ได้ปฏิเสธอำนาจ แต่ปฏิเสธวิธีการใช้อำนาจ จนกระทั่งมุมการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศ ฯลฯ

เอาเถิดครับ แล้วแต่สะดวก

ดีครับ เห็นกันหลายมุมดี โดยที่จะดีกว่านี้ไม่น้อย หากถ้อยคำประเภท "ปิดพื้นที่" การถกเถียงจะหลุดออกมาน้อยที่สุด

หากใครสังเกต (ไม่ต้องสังเกตก็ได้มั๊งครับ จะๆ โต้งๆ ซะขนานน้าน) การเขียนของผม การวิจารณ์ของผม ตั้งอยู่บนเนื้อหาของพระราชกำหนดฉบับนี้ ล้วนๆ อาจเป็นเพราะผมไม่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้อย่างเจาะลึก ไม่มีข้อมูลเชิงลึก มีแต่ฐานแห่งข้อมูลที่ปรากฏตามสื่อ (ที่กำลังถูกตั้งคำถามจากรัฐบาลว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งความรุนแรงแห่งสถานการณ์ใต้หรือไม่ )รายวัน...ถ้าจะถือเป็นข้อด้อยของผม ก็น้อมรับครับ จนปัญญาเหมือนกัน

ฉะนั้นผมในฐานะคนเรียนกฎหมาย จึงคาดหวังจะได้ข้อถกเถียงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเนื้อหาพระราชกำหนดเช่นกัน (ได้อย่างอื่นมาไม่ใช่ไม่ดีนะครับ ผมถือได้ว่าเป็นกำไรอย่างสูงล่ะ) ว่ากันเลย ว่าแต่ละมาตรการเป็นอย่างไร โครงสร้างของมันเป็นอย่างไร มีนัยอะไร มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ จำเป็นแค่ไหน อย่างไร ฯลฯ

ไม่ใช่แค่ต้องการจะจำกัดวงการสนทนากับเฉพาะคนเรียนกฎหมายด้วยกันนะครับ มันเปิดกว้างนะครับ ไม่เรียนกฎหมายมาผมว่าก็แลกเปลี่ยนกันได้ไม่ยาก

แต่เท่าที่ผมสังเกตดู (โดยเฉพาะผู้สนับสนุนพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว) ผมไม่ยักกะได้เห็นมุมนี้เท่าไหร่ ไม่เป็นไร ไม่ว่ากันครับ เพราะมันเป็นการคาดหวังส่วนตัวของผมเอง

ไม่ใช่ว่า เห็นด้วยกับรัฐบาลตะพึดตะพือ หรือ ไม่เห็นด้วยตะพึดตะพือ โดยที่ไม่ได้อ่านแม้กระทั่งมาตราเดียว ซึ่งมันก็คือ "อคติ" ทั้งคู่ล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็น ฉันทาคติ โทสาคติ หรือ โมหาคติ ก็ตาม

ก็ยังดีครับ

บล็อกนี้ปลอดการเมือง ถกเถียงกันด้วยเนื้อหาสาระอย่างแท้จริง (บางคนอาจคิดว่า บางความเห็นเกิดจากฉันทาคติ หรือ โทสาคติที่เกิดจากพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่เท่าที่ผมอ่านดูนะครับ ยังสัมผัสไม่ได้เลยแฮะ หรือว่าผมเป็นคนความรู้สึกช้าก็ไม่รู้สิ)ซึ่งผมถือว่าเป็นกำไร และผมโชคดีมากที่เชื่อคำเชิญชวนของเพื่อนผมให้มาเปิดบล็อก

มันไม่ใช่แค่การเปิดบล็อกสิครับ

มันคือการเปิด "พื้นที่ทางปัญญา" และ "มุมมอง" ให้ผมอีกอักโขทีเดียว

ขอบคุณทุกความเห็น เหมือนเดอะ ป๋อง ขอบคุณทุกดวงวิญญาณ ก่อนจบรายการเดอะ ช็อก

ขอบคุณด้วยใจอันบริสุทธิ์ อย่างแท้จริงครับ

9:27 AM

 
Anonymous Anonymous said...

"การวิจารณ์ของผม ตั้งอยู่บนเนื้อหาของพระราชกำหนดฉบับนี้ ล้วนๆ อาจเป็นเพราะผมไม่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้อย่างเจาะลึก ไม่มีข้อมูลเชิงลึก มีแต่ฐานแห่งข้อมูลที่ปรากฏตามสื่อ"

I think this is the big problem of Thai lawyers because they will disregard the relating facts in the real world, and criticize on the structure and the words appearing in the Act.

I don't think that is the good idea to implant the law in Thailand. Maybe, the universities should have reviewed their instructions?

3:08 PM

 
Blogger ratioscripta said...

ผมว่าเราต้องเติมเต็มกันครับ

ผมวิจารณ์ในฐานความรู้ที่ผมมี ท่านก็วิจารณ์ในฐานความรู้ที่ท่านมี

ผมวิจารณ์บนฐานของหลักการที่ถูกต้อง ท่านวิจารณ์จากสถานการณ์อันจำเป็น

หากมองความแตกต่างคือความแตกแยก ลงรอยกันไม่ได้ ก็คงไม่เกิดประโยชน์ เพราะหากมองในมุมของท่านผมคงผิดอยู่ร่ำไป ไม่รู้เรื่องราว โง่ ไม่รักชาติ เด็กไร้เดียงสา ฯลฯ

แต่หากมองว่าความต่างมันสามารถเติมเต็มซึ่งกันและกันได้ ความแตกต่างก็คงไม่แตกแยก และคงไม่มีใครที่จะสามารถอ้างตนได้ว่า เป็นผู้รู้ และเป็นผู้ทำ ที่ดีที่สุด

ผมว่าปัญหาใหญ่ของนักกฎหมายไทยตอนนี้ไม่ได้มีแต่การปิดหูปิดตา ไม่ดูสถานการณ์เท่านั้นหรอกครับ (ผมยอมรับว่ามันเป็นปัญหาจริงๆ หากไม่ใส่ใจสถานการณ์เลยนะ) ผมว่าปัญหาใหญ่ของนักกฎหมายไทย อีกอย่างหนึ่ง คือ การไม่เคารพ หลักการแห่งกฎหมาย (ซึ่งไม่ใช่แค่สมบัติของนักนิติศาสตร์เท่านั้นนะครับ) ไม่เคารพคุณค่า หรือองค์ความรู้อื่นๆ อ้างแต่สถานการณ์ที่บดบังอยู่ตรงหน้าเพียงเท่านั้น รู้จักแต่การเอาตัวรอด แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ วิ่งตามสถานการณ์จนไม่รู้ว่าจะตกเหวเมื่อไหร่

และที่สำคัญ คือ การตะแบงอำนาจ และบางครั้งสนใจแต่ผล ไม่ใส่ใจวิธีการได้มา

รวมทั้งพวกนักกฎหมายที่หลงมัวเมาในอำนาจนิติบัญญัติโดย ไม่คำนึงขอบเขตใดๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักวิชาชีพ หรือ หลักนิติรัฐ

ผมอยากได้ความรู้ในสถานการณ์ภาคใต้ตอนนี้มาเติมเต็มผมจังเลยครับ ท่านผู้รู้ทุกท่านอธิบายให้ผมฟังหน่อย หรือมันเป็นความลับของชาติอันกระทบความมั่นคง ห้ามเปิดเผย

ขออะไรที่มันใหม่กว่าข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์นะครับ พวกนั้นผมหาอ่านเองได้

เผื่อผมจะเห็นมุมดีๆของพระราชกำหนดฉบับนี้บ้าง

เผื่อมันจะทลายกำแพงแห่งโมหะของผมได้บ้าง

นึกว่าทำบุญเถิดครับ

อยากรู้จริงๆว่า ของเก่าไม่ดียังไง ของใหม่จะดีกว่ายังไง วิเคราะห์ให้ผมฟังหน่อยครับ กฎหมายเก่าๆเครื่องมือเก่าเป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติหน้าที่ และคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐบกพร่องอย่างไร

และมีพื้นที่ให้คนที่ไม่เห็นด้วย หรือคนที่ได้รับผลกระทบต่อการบังคับใช้ดังกล่าว ได้เรียกร้อง หรือได้เยียวยาความเดือดร้อนเสียหายของเค้าหรือไม่

การปกป้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ มีมาตรการอะไรหรือไม่ โดยเฉพาะการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และนายกฯ ความรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจมีอย่างไร ได้ดุลหรือไม่

หรือท่านคิดว่าไม่มีการตรวจสอบดีกว่า จะตรวจสอบทำไมเจ้าหน้าที่ทำงานไม่สะดวก คนบริสุทธิ์ที่ถูกกระทบสิทธิ สมควรก้มหน้าก้มตารับผลนั้นไป กลืนเลือดและน้ำตาตนเอง


หากจะปรับปรุง ทบทวนหลักสูตรในการเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยไทย ผมเห็นว่า ควรจะปลูกฝังจิตสำนึกของนักกฎหมาย จิตวิญญาณของนักกฎหมายเข้าไปให้มากกว่า รวมทั้งเหตุผลทางด้านอัตตะวิสัย เช่น ความรักในความดี รักในความงาม รักในความยุติธรรม กล้าที่จะพูดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่นิ่งดูดายโดยปล่อยไปตามกระแสสังคม มีหลักการที่แน่นหนามั่นคง มีอุดมการณ์ในการรับใช้ผู้อื่น และสังคม

ปลูกฝังให้เค้ามีสิ่งเหล่านั้นให้มากที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อเค้าก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปแล้ว เค้าจะถูกกระแสพัดพาไปในทางใด เค้าจะถูกกรอบแห่งประสบการณ์บีบทั้งสมองและจิตใจของเค้าให้เหลือพื้นที่เพียงใด

และไม่รู้ว่า

เค้าจะลืมหลักการที่ถูกต้อง ที่ควรยึดเป็นแผนที่และเข็มทิศแห่งการเดินบนเส้นทางนักกฎหมายของเค้าได้ง่าย และเร็วเพียงไร

6:55 AM

 
Anonymous Anonymous said...

สวัสดีครับ คุณ Ratioscripta แหะ ๆ ผมเงียบไปพักใหญ่ เพราะ อินเทอร์เน็ตล่ม มาหลายวัน อืม..ผมไม่ใช่คุณไร้นาม ก่อนหน้าที่ใช้ภาษาอังกฤษครับ แต่ เป็น นายไร้นาม ที่ลองเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในบล็อกคุณดูตั้งแต่ต้น

ผมต้องขอโทษจริง ๆ ครับ หากความคิดเห็นหลัง ๆ ของผม ดูเป็นการถกเถียง ด้วยอารมณ์เสียมากกว่า ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ได้คาดคิดเรื่องนี้มาก่อนเลย เพราะ ผมเอง แอบติดตาม อ่านบล็อกของท่านหลาย ๆ คนมาก่อนแล้ว และเห็นว่า มีบรรยากาศการแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ เนื่องเพราะ บรรยากาศในสมาคมนักเรียนไทย ในประเทศที่ผมจำเป็นต้องระหกระเหินมาเรียน
ตอนนี้ไม่ค่อยมีไอเดียเรื่องบ้านเรื่องเมืองกันสักเท่าไหร่ เลยชักจะเบื่อ ๆ เมื่อไปตั้งประเด็นบ้านเมืองในเว็บเหล่านั้น ไอ้ครั้นจะเข้าไปเล่นที่พันธุ์ทิพย์ หรือ ตามบอร์ดท้ายข่าว ก็เบื่อ ๆ กับ อาการสำร๊อกความคิดเห็น ด้วยคำหยาบคาย แบบไร้เหตุผล

ตอนแรก ๆ ผมสนุกครับ ที่ได้อ่าน เพราะความคิดเห็นที่คุณ Ratioscripta ก็มาจากสิ่งที่ผมตามข่าวอยู่ และผมเอง มีความคิดเห็นในมุมมองของผม ไม่ต่างจากนั้นนัก แต่มาเริ่มคันหัว คันมือ ก็ตอนที่คุณพลเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อไว้ ซึ่งผมเอง ก็แลกเปลี่ยนไป โดยตั้งเป็นข้อสังเกตบ้าง

คุณพล ท่านก็ตอบมาในมุมมอง และเหตุผลของเขา ซึ่งไม่ว่ากัน เพียงแต่ ผมคิดอะไรก็เขียนแย้งบ้าง ตามประสา มาเริ่ม เง็ง ๆ และดู บรรยากาศน่าเบื่อก็ เมื่อจู่ ๆ ผมก็โดนใครไม่รู้สักคน มาดิสเครดิต ความคิดเห็นกันซะอย่างนั้น โดยเขาก็ยังไม่ได้อ่าน ความคิดเห็นผมด้วยซ้ำ

ผมไม่ใช่คน "ให้ค่า" ใครด้วยการมองอะไรตื้น ๆ ง่าย ๆ จากการแสดงความคิดเห็นในบางเรื่องบางประเด็น เพราะ การพยายาม "ให้ค่า" คนอื่น มันกลับสะท้อนว่า "ค่า" ของคนให้ออกมาได้มากกว่า การด่าคนอื่น "โง่" โดยไม่มีเหตุผลอะไรมาลองรับ ทำให้คนด่าดู "โง่" กว่าคนถูกด่า หลายเท่าตัว ผมเลยไม่คิดจะทำอะไรที่ไร้แก่นสารแบบนั้น

ผมขออภัยอีกครั้งที่เรื่องที่เขียนมา หรือจะพูดต่อไปอีกสักหน่อยไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหา ของ พรก. แล้ว เพราะผมเอง ได้พยายามแสดงความคิดเห็นของผมออกไปหมดแล้ว และก็ไม่เห็นจะมีท่านใด มีความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และน่าตอบแล้วด้วย

อย่างที่บอกแหละครับ หลัง ๆ ด้วย ท่านที่หายาก คนนั้น เข้ามา ผมก็ชักเห็นว่า บรรยากาศการแลกเปลี่ยนที่นี่ เปลี่ยนไป ไม่น่าสนใจอย่างที่คิดไว้แต่ต้น เพราะคนที่เข้ามาแทนที่จะแสดงความเห็นโต้กันด้วยเหตุผล
ว่ากันเป็นประเด็น ๆ ไป ก็ไม่ทำ แต่มาอวดอ้างสรรพคุณว่า รู้มาก รู้แยะ กว่าคนอื่น ๆ และไม่มีอะไรรองรับเสียด้วย แถมออกจะทนงตนมากไปหน่อย ไล่ดิสเครดิตคนอื่น ปิดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น แล้วบอกว่า ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ทั้ง ๆ ที่แค่อ่านให้ละเอียดยังไม่ทำ โดยคิดไปว่า ตนเองฉลาดล้ำ

คนที่เข้ามาบางคน ก็ยัง ติดอยู่กับ "ญาณวิทยา" แบบไทย ๆ คือ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แทนที่จะดูกันที่เหตุผลที่นำมาโต้ มาแย้ง กับไปมองที่ "ตัวคน" แสดงความคิดเห็นเสียอีก ประมาณว่า รู้จักกันมาก่อน เชื่อในประสบการณ์ที่ผ่านมา บลา ๆ ๆ ๆ แล้วตัวเองก็ไม่ได้คิดตาม ซึ่งไม่เห็นจะปราดเปรื่องตรงไหน

ผมคิดว่า ไอ้ Weblog นี่มันจะช่วยอะไรได้ มันจะช่วยเปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนดี ๆ แก่กันได้ เป็นพื้นที่ใหม่ ที่คนเข้ามายกเหตุยกผลสู้กัน แต่เอาเข้าจริง ก็ไม่เห็นต่างจากที่อื่น ๆ สักเท่าไหร่ (โอเคแหละครับ บางบล็อกผมว่าน่าสนใจมากทีเดียว) แถมาบางครั้ง อาจสร้างความเป็น "ตัวกู ของกู" ได้หนักหนาสาหัสกว่า เพราะ พออ่านไปอ่านมา คนในสังคมบล็อกกับชื่นชม กันเอง โดยกันคนอื่น ๆ ไม่ให้ร่วมแสดงความคิดเห็น จะชอบก็ต่อเมื่อ ไอ้คนอื่นที่เข้ามา แสดงความเห็นด้วยกับตัวเอง หรือไม่ก็ ประมาณ "แวะมาทักทายค่ะ" "เห็นด้วยครับพี่" .... แล้วก็ไล่ชื่นชมกันไป

เอาเป็นว่า ผมแอบผิดหวังว่าบรรยากาศการแลกเปลี่ยนที่นี่แล้วกันครับ แต่ก็ขอให้กำลังใจท่านเจ้าของบล็อกต่อไป ส่วนผมก็จะไปทำเว็บไซท์เชิงบล็อกของผมต่อ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาเล่าเรียน จะได้กลับไปสอนลูกศิษย์ของผมต่อครับ....

3:54 AM

 
Blogger crazycloud said...

หากมองหลุดกรอบของกฎหมาย แล้วจะพบวิภาษวิธีในทวิภาวะสองข้างที่ความคิดวิ่งอยู่ คือการใช้อำนาจเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยและเป็นปึกแผ่นให้กับประเทศชาติ ซึ่งสำหรับผู้ปกครองเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมิใช่น้อย และการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอันเป็นปฐมบทของประชาธิปไตยซึ่งความตระหนักมักปรากฏเพียงชั่วครู่และเฉพาะบุคคลที่ได้รับผลจากการรุกรานสิทธิและเสรีภาพ อยู่ที่ว่าใครจะให้นำหนักกับอะไรมากกว่ากัน
แต่หากกลับสู่กรอบกฎเกณฑ์มากขึ้น ก็จะพบประเด็นทางกฎหมายที่แปลกประหลาดมากมาย จนไม่น่าเชื่อว่าในรัฐบาลชุดนี้มีมือกฎหมายชั้นเซียนเหยียบเมฆอยู่หลายคน ประเด็นเหล่านี้ผมคิดว่า Ratioscripta และคุณๆทั้งหลายได้ให้ความเห็นไว้ค่อนข้างดีแล้ว
แต่ก็อยากเพิ่มเติมประเด็นกฎหมายอีกเล็กน้อยในส่วนของนิตินโยบายในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ที่ผู้มีอำนาจควรทำความเข้าใจหลักการทางกฎหมายมากกว่านี้ ก็คือ ประเด็นเรื่องสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตามรัฐธรรมนูญ 46 จะเห็นได้ว่าหลักการดังกล่าวเป็นหลักการที่ชัดเจนแจ่มแจ้งในการที่รัฐจะใช่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องยอมรับว่าการดำเนินการที่ผิดพลาดต่อพี่น้องทางภาคใต้มิใช่เกิดแต่เฉพาะรัฐบาลชุดนี้ชุดเดียวเท่านั้น แต่ปัญหาเหล่านี้ดำเนินสืบเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ซึ่งแก่นกลางของปัญหา ก็คือการที่รัฐขาดความตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายทางความคิด อัตลักษณ์เฉพาะของชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ มีการกระทำเหยียบยำซำบ่อยจนเกิดกระแสความไม่พอใจ ตั้งแต่สมัย หะยีสุหลง อับดุลการ์เดแล้ว และการกระทำที่ขาดความเข้าใจเหล่านี้ก็ยังดำเนินสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน แนวความคิดที่ควรใช่แม้รัฐธรรมนูญมาตรานี้จะมีที่มาจากต่างประเทศตามแนวความคิดแบบพหุนิยมทางสังคม (Pluralism) แต่ก็สอดคล้องกับวิถีเอเซียที่ยอมรับความแตกต่างว่าเป็นความสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว คำแนะนำที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ยิน ก็คือคำแนะนำของหมอประเวศที่แนะให้ท่านนายกฯไปนั่งสมาธิ เพื่อใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว และโดยส่วนตัวก็ต้องยอมรับว่าปัญหาชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาละเอียดอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะสั้น ต้องใช้ความขันติสูง เพื่อคิดกโลบายที่แยบยลในการเอาชนะทางใจ จึงจะประสบผล รัฐบาลชุดนี้จะใช้อะไรก็ได้ในการแก้ไขปัญหา เพราะมีเสียงมาก จะใช้พระราชบัญญัติ หรือแม้แต่จะแก้รัฐธรรมนูญก็ยังได้ แต่กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการปกครองหยิบมาใช้ไม่ถูก ก็เหมือนเอาเสียมไปเจียรพลอย เผลอๆสะบัดโดนหน้าใครเลือดตกยางไหลไม่รู้เรื่อง เครื่องมือก็จะกลายเป็นของชวนหัวไป ท้ายที่สุดฝากคติไว้ "ใจคนไม่สยบได้มาก็ปกครองไม่ได้" "ชนะใจเป็นหลักสู้รบเป็นรอง" อย่าลืมอ่านมาตรา 46 กันนะ หากมีเวลาจะเขียนใน greenmercy.blogspot.com

1:12 AM

 
Anonymous Anonymous said...

ผมผ่านมาน่ะครับ

มีมุมมองมาแลกเปลี่ยนนิดเดียว เนื่องจากได้อ่านบันทึกการประชุมของ กอส. ตอนที่มีการเก็บข้อมูลต่างๆ

ทางคณะกรรมการ เชิญนายทหารหลายท่าน และระดับปฏิบัติการณ์หลายคนมาพูด

ไม่น่าเชื่อ ว่ามีการเก็บกันจริงๆครับ
คือคนไหนเคลื่อนไหวมากหน่อยก็เก็บกันไปเลย คือรู้ตัวด้วย และรู้ว่าไม่สามารถจับได้ตามหลักฐานที่มีอยู่ ก็เลยเลือกวิธีเก็บเอาไปทิ้งซะ และพี่ๆทหารก็ยอมรับ และบอกว่าบรรดาทหารก็โดนเอาคืนบ้าง เราก็เอาคืนเขาบ้างสลับกันไป

ทีนี้เราต้องกลับมาคิดใหม่แล้วล่ะ ว่าขนาดก่อนหน้าที่ พรก. จะออก ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบนี้ ในทางลับ(ส่วนตัวของผู้ปฏิบัติการณ์เอง)หรืออาจมีเป็นคำสั่งลับซึ่งเราไม่อาจรู้ เมื่อพรก. ออกมาจะไปถึงขนาดไหน ไม่มีใครเดาออกเลย

ซึ่งผมเข้าใจ ทหาร ว่าถึงมีพรก. ออกมา แล้วเขาได้ใช้อย่างเต็มที่ ผลการปฏิบัติงาน ก็ยืดเยื้ออยู่ดี

เพราะจริงๆแล้วไม่สามารถกำจัดได้ทั้งหมด เนื่องจาก มีทั้งพวกตัวสีแดงๆ แดงแจ๋ ตัวสีชมพูนิดๆ หรือกำลังแดงได้ที่ มีระดับขนาดของความห้าวแตกต่างกัน พร้อมประลองกำลัง ทุกเมื่อ โดยที่เราไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร ฆ่าให้หมดเหรอ จับมาอบรมเหรอ หรือ เฝ้าระวังแบบไม่ให้เงยหัว แล้วกลยุทธสำคัญ คือจับโจรให้จับหัวหน้าเราจะจับใครดี...

ที่น่าสนใจ คือ การนำเอาคนผิดมาลงโทษ หรือขั้นตอนพิสูจน์ทราบ และ การแยกแยะผู้กระทำผิดในระดับต่างๆ ด้วยความยุติธรรม เราได้มีมาตรการหรือยัง

ผมเห็นใจทหารระดับปฏิบัติการณ์ ครับจากการอ่านบันทึก เพราะเขาเป็นฝ่ายรับเละ ยิ่งอ่านข่าวผู้พันยิงตัวเองตายยิ่งจินตนาการไปไกลเลยครับ พวกเขาเหล่านี้ทำได้ทุกอย่างฆ่าคนก็ได้ แม้ขัดกับความรู้สึกตัวเอง ยอมตายก็ได้ แม้จะรักชีวิตเหมือนกัน แต่หลังจากเขาทำงานลุล่วงแล้ว ใครช่วยตอบเขาทีได้ไหมครับ

ว่าที่เขาทำน่ะ คือหนทางไปสู่ความสำเร็จจริงๆ ตามที่นายสั่งมา เพราะสั่งกันหลายระดับเข้าใจกันหลายแบบเหลือเกิน

คุณปริเยศ เองก็ตอบไม่ได้หรอกครับ ว่าใช้พรก. แล้ว ทุกอย่างจะถึงจุดสิ้นสุด เพราะคุณยังไม่รู้เลยว่าเราสู้อยู่กับใคร หรือว่าคุณรู้ครับ?

ผมว่าตามแนวคิดแล้วใช้ พรก.ก็ได้ ถ้าทหารตำรวจ ทำงานง่ายขึ้น แต่ขอให้มีการตรวจสอบได้ และมีมาตรการทางระบบยุติธรรมในการเอาผิด อย่างสมบูรณ์แบบครับ

ไม่ใช่สักแต่รีบจะมีเพื่อยุติไฟใต้ครับ
ถ้ามีต้องให้มันเป็นระบบ ตรวจสอบระหว่างองค์กรได้

ดูก็รู้ว่าถ้าใช้กำลังมันก็อาจยุติ แค่ในรัฐบาลนี้ พักเดียว
แต่ในระยะยาว มันอาจเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนไข้หวัดนก ครับ...

2:38 PM

 

Post a Comment

<< Home